Financial Leverage (FL) แปลตรงตัว คือ การงัดเพื่อให้เกิดแรงมากขึ้นทางการเงิน ในการลงทุนในตลาด Forex ก็คือการที่เรายืมเงินทุนจากโบรคเกอร์ไปลงทุน เพื่อก่อให้เกิดกำไรเพิ่มมากขึ้น โดยปกติค่า Leverage นั้นจะกำหนดโดยโบรคเกอร์ และระบุเป็นสัดส่วนซึ่งก็คือสัดส่วน การลงทุนโดยใช้ทุนของเรา เทียบกับการลงทุนจริงในตลาดโดยยืมทุนจากโบรคเกอร์ ฟังแล้วก็อาจจะงง ๆ มาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ ตัวอย่างแรกกรณีซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์บ้านเราธรรมดา Leverage คือ 1:1 นั้นคือ เราเอาเงินทุนของเราล้วนๆ ไปซื้อหุ้นจริงๆ ธรรมดา หุ้นมีมูลค่าเท่าไหร่ ก็จ่ายจริง ซื้อจริงตามนั้น กำไร หรือขาดทุน ก็คิดจากผลต่างราคาซื้อ กับราคาขาย ตรง ๆ ธรรมดา
ตัวอย่างที่ 2 ลงทุนในตลาด Forex กับโบรคเกอร์ที่ให้อัตราส่วน Leverage 1:100 (แต่ละโบรคเกอร์อาจให้สัดส่วน Leverage ที่แตกต่างกันไป) นั้นหมายความว่า เราใช้เงินทุนของเราเพียงแค่ 1 หน่วย แต่ทำการสั่งซื้อขายในตลาด 100 หน่วย โดยกำไร หรือขาดทุนที่ได้ นั้นก็คิดจาก 100 หน่วยนั้นที่เรายืมโบรคเกอร์ไปลงทุน เช่น เราใช้เงินทุนของเรา 1 USD ซื้อ THB ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน 34.00 บาท ต่อ 1 ดอลลาห์ี่ Leverage 1:100 จะเปรียบเสมือนเราส่งคำสั่งซื้อ THB เข้าไปในตลาดด้วยจำนวนเงิน 100 USD ซึ่งจะทำให้เราได้ THB 3400 บาท เมื่ออัตราแลกเปลี่ยน USD/THB เปลี่ยนแปลงโดยเงิน THB แข็งค่าขึ้นจาก 34.00 บาท เป็น 33.80 บาท และเราสั่งปิดออร์เดอร์ ที่ 33.80 บาท ต่อ 1 ดอลลาห์ เมื่อแปลงกลับที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในขณะนั้น เราจะได้ USD กลับมา 3400/33.8 = 100.59 USD ในส่วน 100 USD ที่เรายืมโบรคเกอร์มา ก็ต้องคืนไป ส่วนกำไรของเราคือผลต่างที่ได้จากการเทรดรอบนี้ซึ่งก็คือ 100.59-100 = 0.59$ จะเห็นเลยใช่ไหม๊ครับ ว่าแค่เงินบาทแข็งขึ้น 20 สตางค์ เราได้กำไรถึง 0.59 USD จากการลงทุนเพียงแค่ 1 USD ซึ่งนั้นก็คือกำไร 59% เลยทีเดียว!!
ในทางกลับกัน ถ้าเงินบาทอ่อนลงมาที่ 34.40 บาท เมื่อแปลงกลับมาเป็น USD จะเหลือ USD มูลค่าในตลาดเพียง 3400/34.40 = 98.84 USD หรือติดลบ 98.84-100 = -1.16 USD ซึ่ง จำนวนเงินตรงนี้ โบรคเกอร์จะหักเงินในพอร์ตของเราจากส่วนที่ว่าง และไม่ได้ใช้เทรด (Available Margin) ตรงนี้จะเห็นได้ว่าการเทรดแบบระบบ Leverage นั้น เราจะสั่งซื้อขาย โดยใช้เงินทั้งหมดในพอร์ตไม่ได้ เราต้องเหลือเงินจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็น Margin ให้กับทางโบรคเกอร์ ถ้าเราเปิดออร์เดอร์อยู่ แล้วเกิดการขาดทุนจน Available Margin เป็น 0 ระบบจะปิดออเดอร์อัตโนมัติทันที และเราต้องจ่ายส่วนที่ขาดทุนทั้งหมดจาก Available Margin ทั้งหมด เพื่อคืนเงินที่เรายืมมาจากโบรคเกอร์ให้ครบ
สัดส่วน Leverage ของแต่ละโบรคเกอร์นั้น จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1:100 ไปจนถึง 1:500 บางโบรคเกอร์เราสามารถกำหนด Leverage ได้เอง บางโบรคเกอร์ก็ตั้งไว้ตายตัว ดังนั้นก่อนจะสมัครเปิดพอร์ต Forex กับโบรกเกอร์ได้ก็ตาม ควรตรวจสอบ Leverage ของโบรคเกอร์นั้น ๆ ให้ดี และเลือกให้เหมาะสมกับการเล่นของตัวเองครับ
|
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ระบบ Financial Leverage ในตลาด Forex
ป้ายกำกับ:
โบรคเกอร์,
Available Margin,
Financial Leverage,
Order
0 ความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่