เปรียบเทียบระหว่าง ชายคนสองคนที่ไปรบในสงคราม ชายที่โง่จะรีบเปิดศึกโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่มีการวางแผน เหมือนคนที่หิวโหยและรีบกินทุกอย่างที่ขวางหน้าในงานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ ส่วนคนฉลาดจะวิเคราะห์สถานการณ์ก่อน เพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ว่าตนเองควรจะสู้อย่างไร
ในการเทรดก็เหมือนการทำศึกในสงคราม เราควรจะรู้ว่าสภาวะในตลาดเป็นแบบไหนก่อนที่จะเริ่มวางแผนว่าจะเทรดอย่างไรดี เทรดเดอร์บางคนหงุดหงิดและบอกว่า ระบบเทรดที่ใช้ไม่ดี ในความเป็นจริงระบบเทรดที่ใช้บางครั้งมันก็ใช้การไม่ได้ แต่ในบางครั้งมันก็ทำกำไรให้อย่างมากมาย ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ใช้ระบบเทรดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดในขณะนั้นๆ
สำหรับ เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ช่ำชองแล้ว พวกเขาจะพยายามหากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเทรดสำหรับสภาพแวดล้อมของ ตลาดในปัจจุบัน เช่น เวลานี้ควรจะใช้ Fibonacci เพื่อหาโซนปรับตัวของราคา (Retracement) หากราคาวิ่งเป็นเทรน หรือว่าราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคา (Rang Holding) แล้วเราควรจะเล่นอย่างไรในสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกัน การที่เรารู้ว่าสภาวะตลาดเป็นเช่นไรทำให้เราสามารถเลือกกลยุทธ์ และระบบเทรดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดในขณะนั้น
ดังนั้นเทรดเดอร์ควรจะมีระบบ เทรดของตัวเองมากกว่า 1 ระบบ เพื่อรองรับกับสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน และไม่ต้องกลัวว่าคุณจะไม่ได้ใช้ระบบเทรดใดระบบหนึ่ง เพราะในตลาด Forex เราจะพบสภาวะตลาดที่ราคาวิ่งในกรอบราคา (Rang) และ วิ่งเป็นเทรน (trending) ในทุกรอบเวลา (Time Frame) และถ้าคุณใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้วก็จะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือ (Indicators) ที่มีมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่น Fibos และ Trend line จะมีประโยชน์มากในตลาดที่เป็นเทรน ขณะที่ Pivot Point และเส้นแนวรับแนวต้านของ Pivot Point จะใช้งานได้ดีมากเมื่อราคาวิ่งอยู่ในกรอบ
สภาพแวดล้อมของตลาดแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ
ตลาดขาขึ้น (Trend Up)
ตลาดขาลง (Trend Down)
วิ่งในกรอบราคา ( Ranging หรือ Sideway)
ตลาดที่เป็นเทรน (Trending market)
ตลาดที่เป็นเทรน คือ การที่ราคาวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน และ แน่นอนว่าอาจจะมีบางช่วงที่ราคาวิ่งสวนทางกับเทรน แต่ถ้าพิจารณาในกรอบราคาที่ใหญ่กว่า ก็จะเห็นว่าการวิ่งสวนทางเหล่านั้นเป็นการปรับตัวของราคา
Trending Market
ปกติ เราจะสังเกตเทรนขาขึ้นได้จาก "จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดใหม่ที่ยกตัวสูงขึ้น (Higher High , Higher Low)" และเทรนขาลงก็จะเป็น "จุดสูงสุดและต่ำสุดใหม่ที่ปรับตัวต่ำลง (Lower High, Lower Lows) "
กลยุทธ์ การซื้อขายสำหรับเวลาท่ตลาดเป็นเทรน เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเลือกเทรดในสกุลเงินหลัก เพราะแนวโน้มของคู่เงินเหล่านี้จะมีสภาพคล่องสูง เพราะสภาพคล่องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์การเทรดตามแนวโน้ม สภาพคล่องยิ่งมากก็ยิ่งทำให้มีการเคลื่อนที่ของราคามากขึ้นเท่านั้น
ADX ในตลาดที่เป็นเทรน
ADX คือ Average Directional Index indicator ในบางโปรแกรมอาจเป็น Average Directional Movement Index indicator แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนหลักการใช้ก็จะเหมือนกัน ADX นี้ถูกพัฒนาโดย J. Welles Wilder เป็น Oscillator พื้นฐานอีกตัวที่จะติดมากับโปรแกรมเทรด (MT4) ตัวบ่งชี้มีระดับอยู่ระหว่าง 0-100 ใช้เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของแนวโน้ม ไม่เหมือนกับการทำงานของ Stochastic ที่จะบอกเราว่าเมื่อไหร่เทรนเป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่ ADX จะบอกเราว่าแนวโน้มในขณะนี้แข็งแรงหรือว่าอ่อนแอ ในหลักการทำงาน ทั่วไปถ้า ADX อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 หมายความว่าแนวโน้มหรือเทรนนั้นๆ กำลังอ่อนแอ แต่ถ้า ADX อยู่เหนือระดับ 50 นั่นหมายถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง
ถ้า ADX อยู่เหนือระดับ 25 โดยปรกติแล้วมักจะแสดงให้เห็นว่าราคามีแนวโน้ม หรือราคาอยู่ในแนวโน้มที่แข็งแกร่งอยู่แล้วในขณะนี้ ยิ่งอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็หมายถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่งขึ้น แต่ ADX เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณช้ากว่าอย่างอื่น ซึ่งหมายความว่ามันไม่จำเป็นในการใช้ทำนายอนาคต และมันยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ไม่มีทิศทางซึ่งหมายความว่ามันจะรายงานออกมาเป็น ตัวเลขที่บอกถึงระดับความแข็งแกร่งของแนวโน้มเท่านั้น ลองดูตัวอย่างนี้ เห็นได้ชัดว่าราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลงแม้ว่า ADX มากกว่า 25
Moving Average ในตลาดที่เป็นเทรน
นอก จาก ADX แล้ว เรายังสามารถให้ Simple Moving Average ในการตรวจสอบแนวโน้มของราคาได้อีกด้วย ลองใส่ SMA 7,20 และ 65 เข้าไปในกราฟของคุณ แล้วรอให้เส้น SMA ทั้งสามเส้นวิ่งมารวมกันแล้วกระจายออกจากกัน ถ้า SMA ที่มีค่าน้อย กระจายออกมาอยู่เหนือเส้นที่มีค่ามาก คือ SMA7,20 และ 65 ไล่กันลงมาตามลำดับ นั่นหมายถึงแนวโน้มขาขึ้น
ใน ทางกลับกัน ถ้า SMA ที่มีค่าน้อยกลับลงมาอยู่ต่ำกว่าเส้นที่มีค่ามากกว่า คือ SMA 7,20 และ 65 เรียงตัวไล่กันขึ้นไปตามลำดับ นั่นแสดงถึงแนวโน้มขาลง
Bollinger Band ในตลาดที่เป็นเทรน
แถบ ของ Bollinger Band ปรกตินั้นจะมีค่าเบี่ยงแบนมาตรฐานตามสูตรอยู่แล้ว แต่วิธีการที่จะใช้มันเพื่อหาแนวโน้มคือ ใส่ Billinger band มีมีค่ามาตรฐาน (Standard deviation 1) และใส่ Bollinger Band อีกอันโดยตั้งค่า Deviation เป็น 2
Sell Zone คือ บริเวณที่อยู่ระหว่าง Band ทั้งสองอัน (DS1 และ SD2) ที่อยู่ด้านล่าง จำไว้ว่า ราคาควรจะต้องปิดอยู่ในระหว่างพื้นที่ตรงนี้จึงจะพิจารณาในการ Sell
Buy Zone คือ พื้นที่ระหว่าง Band ทั้งสองอันเหมือนกับ Sell Zone แต่จะอยู่ด้านบน และราคาจะต้องปิดตัวในระหว่างพื้นที่ของทั้งสอง Band นี้ จึงจะพิจารณาว่าเป็น Buy Zone และราคาในระหว่างพื้นที่ของ Band ที่เซทค่า SD1 นั้นเป็นช่วงที่ราคาเกาะตัวกันเป็น Sideway ราคาจะปิดตัวในระหว่างพื้นที่นี้ เป็นช่วงที่ไม่น่าเล่น
ราคาที่วิ่งในกรอบราคา (Sideway หรือ Ranging Market)
Ranging Market คือ สภาวะที่ราคาวิ่งระหว่างกรอบราคาสูงสุด และต่ำสุด ตรงระดับราคาสูงสุดจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาต่ำสุดจะเป็นแนวรับ และราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคานี้เป็น Sideway ไม่สามารถทะลุออกไปนอกกรอบได้ ในกรณีแบบนี้ เราอาจใช้เส้น Horizontal Line มาวางไว้เพื่อดูแนวรับแนวต้านของกรอบราคาได้ง่ายขึ้น
ADX ใน Ranging Market
ก็ เหมือนกับที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า ถ้า ADX อยู่ต่ำกว่าระกับ 25 นั่นก็หมายความว่า แนวโน้มของราคามีความอ่อนแอ และนั่นก็คือ ตลาดที่เป็น Ranging Market หรือ ตลาด Sideway นั่นเอง แต่อย่าลืมว่า ยิ่ง ADX มีค่าน้อยลงเท่าไหร่ ก็หมายถึงตลาดแนวโน้มหรือเทรนยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น
Bollinger Band ใน Ranging Market
Bollinger Band จะหุบแคบลงเมื่อมีความผันผวนในตลาดน้อย และจะขยายขึ้นเมื่อมีความผันผวนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Bollinger Band เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับกลยุทธ์แบบ Breakout
เมื่อ Bollinger Band หุบแคบลงนั่นหมายถึงตลาดมีความผันผวนต่ำ และราคาน่าที่จะเคลื่นไหวเพียงเล็กน้อยไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อ Band เริ่มที่จะขยายกว้างขึ้น ก็หมายถึงความผันผวนที่มีมากขึ้นและราคาจะไม่วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน
โดย ทั่วไปช่วงราคาจะมีช่วงที่แคบเมื่อเทียบกับ เวลาที่ Band ขยายใหญ่ หรือการใช้เส้น Horizontal Line เป็นแนวรับแนวต้าน อย่างกรณีในภาพตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ากรอบราคาแคบมาก
แนวคิดพื้นฐานในการเทรดในตลาดที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบแบบนี้ คือ การซื้อต่ำที่ใกล้กับแนวรับ และปิดทำกำไรเมื่อราคาวิ่งมาที่แนวต้าน และขายในราคาที่สูงให้ระดับกับแนวต้าน และปิดทำกำไรที่ระดับแนวรับ และเครื่องมือที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ เส้น Horizontal Line และ Bollinger Band
นอก จากนี้ การใช้ Oscillators อย่าง Stochastic และ RSI จะช่วยคุณหาและยืนยันจุดกลับตัวของราคาในกรอบราคาได้ง่ายขึ้น อย่างเช่นการใช้เงื่อนไข Over bought และ Oversold
Bonus Tip: การเทรดโดยใช้กลยุทธ์แบบ Range-Bound (การกลับตัวในกรอบราคา) นี้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับคู่เงินที่มีสกุลเงิน USD ร่วมอยู่ด้วย คู่เงินที่เป็นที่นิยมเทรดแบบนี้คือ EUR/CHF เพราะอัตราการเติบโตของสหภาพยุโรปและสวิสเซอรืแลนด์มีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองสกุลมีเสถียรภาพมาก จึงเหมาะกับการเทรดโดยใช้กลยุทธ์นี้เป็นอย่างมาก
ข้อสรุป ตลาดมีความหลากหลาย และไม่ว่าตลาดอยู่ในสภาวะไหน มีแนวโน้ม (Trending Market ) หรือว่าราคาวิ่งอยู่ในกรอบราคาแบบ Sideway (Ranging Market) ก็ตาม คุณก็ควรเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดในขณะนั้นๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตาม จังหวะของตลาด
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,484.0.html