วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นโยบายการเงิน

นโยบายการเงิน


นโยบายการเงิน
เมื่อ เราคุยกันถึงธนาคารกลางก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่พูดถึง "นโยบายการเงิน"  โดย หน้าที่หลักของธนาคารกลางทั้งหลายต่างก็มีเป้าหมายหลักๆที่เหมือนกัน คือ การนำพาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต และรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยธนาคารกลางที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นหน่วยงานที่ได้รับอิสระไม่มากมากก็น้อย จากรัฐบาล ทีรู้จักกันดีคือ ECB, FED, BOJ, BOE ซึ่งเป็นอิสระ แต่บางหน่วยงานก็เชื่อมโยงโดยตรงกับรัฐบาลเช่นในประเทศจีน
และเครื่องมือ ที่จะทำให้งานของพวกเขาบรรลุเป้าหมายได้ก็คือ "นโยบายการเงิน" เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกเขา ธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

    อัตราดอกเบี้ยที่ผูกติดอยู่กับมูลค่าของเงิน
    การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
    ปริมาณเงิน
    ความต้องการสำรองของธนาคาร
    ลดช่องว่างในการกู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์


ประเภทของนโยบายการเงิน
รูปแบบของนโยบายการเงินจะแบ่งเป็น 3 เภทที่แตกต่างกัน คือ
- Contractionary หรือ Restrictive monetary policy คือ นโยบายการเงินที่เข้มงวด เป็นนโยบายที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องการลดปริมาณเงิน นอกจากนี้ยังใช้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย
- Expansionary monetary policy คือ นโยบายเพื่อการขยายตัว หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่านโยบายผ่อนคลายทางการเงิน จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงิน หรือลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย และมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย จะมีเป้าหมายเพื่อที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่นโยบายการเงินที่เข้มงวดจะถูกใช้เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อหรือยับยั้ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- Neutral monetary policy คือ การดำเนินนโยบายการเงินที่เป็นกลางซึ่งจะไม่มุ่งเน้นที่จะสร้างความเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจ หรือ ต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ
สิ่งสำคัญที่จะต้องจำไว้ เกี่ยวกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ คือ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางปรกติจะอยู่ที่ 2% ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ได้ออกมาบอกให้เราทราบว่ามันคือเป้าหมายนะ แต่ว่าการดำเนินงานของพวกเขาจะมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้ได้เป้าหมายประมาณนี้  เพราะพวกเขารู้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่พอเหมาะนั้นดีต่อ เศรษฐกิจ แต่อัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไปสามารถทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ ระบบเศรษฐกิจของประเทศ, งานของพวกเขา และท้ายที่สุด เงินของพวกเขา
และ การที่มีระดับเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อ ก็เป็นการช่วยให้นักลงทุนในตลาดสามารถเข้าใจ และคาดเดาได้ว่านาคารกลางจะจัดการกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของพวกเขายังไง
ตัวอย่างเช่น
ย้อน กลับไปในเดือนมกราคมของปี 2010  อัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรพุ่งขึ้นถึง 3.5% จาก 2.9% ในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ด้วยอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% ซึ่งอัตราใหม่ที่ 3.5% นั้นเป็นอัตราที่สูงเกินกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ
ผู้ว่า การธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) ได้ติดตามผลรายงานด้วยความมั่นใจว่ามันเกิดจากปัจจัยชั่วคราที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลัน และเพื่อจะปรับให้อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันลดลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ระดับเป้าหมาย BoE  ก็จะใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือ
นี่คือตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นการดีที่จะรู้ว่านาคารกลางจะทำหรือไม่ทำอะไรที่มีความสัมพันธ์กับเป้า หมายอัตราดอกเบี้ย (เราเคยเขียนเรื่องความสำคัญของอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว ถ้าใครยังไม่เข้าใจให้ไปดูได้ที่บทความก่อน
เพราะ เทรดเดอร์ต้องการความมั่นคง ธนาคารต้องการเสถียรภาพ และ สภาพเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นการรู้ว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อตอนนี้อยู่ที่ระดับไหน ก็จะเป็นการช่วยให้เราเข้าใจว่าทำธนาคารกลางจึงทำในสิ่งที่พวกเขาทำลงไป


 วงจรการหมุนเวียนของนโยบายการเงิน
โดย ปรกติแล้ว การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการดำเนินโยบายการเงินจะค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นทีละ น้อย เพราะการปรับขึ้นอัตราดิกเบี้ยที่รุนแรงจะทำให้ธนาคารกลางเกิดความวุ่นวาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระบบ ทำให้เรามักจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประมาณ 0.25-1% ในช่วงระยะเวลาของการปรับอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้ง
และส่วนหนึ่งที่จะ สร้างความมั่นคงนี้คือระยะเวลาที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนอัตราตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะกินระยะเวลาหลายเดือนหรืออาจจะใช้เวลาเป็นหลายปี (เพราะปรับได้ทีละนิด) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะเหมือนกับการเหยียบเบรครถยนต์ ในขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นสามารถทำได้เหมือนกับการเหยียบคันเร่ง
ช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินที่จะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงต่อเศรษฐกิจอาจใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,578.0.html