คำศัพท์ประจำวงการ forex
รู้จักศัพท์ ที่ใช้ใน ฟอร์เร็กซ์
หลัง
จากได้เรียนทักษะใหม่ ๆ ก็ควรต้องเรียนศัพท์ ที่ใช้ในวงการฟอร์เร็กซ์ด้วยม
รู้จัก ส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนที่จะ เริ่มเทรด บางคำนี้ อาจจะรู้อยู่แล้ว
ไม่้เป็นการเสียหลาย ในการทบทวนสิ่งที่รู้มา
ค่าเงินหลัก ค่าเงินรอง
ค่าเงินหลัก ที่มีการเทรดมากที่สุด (USD, EUR, JPY, GBP, CHF, CAD, NZD, AUD) เรียกว่า major currencies
ค่า
เงินอื่น ๆ เรียกว่า minor currencies ไม่ต้องสนใจ minor currencies มาก
ส่วนใหญ่จะเฉพาะคนที่เล่นมานาน แล้วเท่านั้น ในที่นี้ส่วนใหญ่ จะพูดถึง Fab
Five (USD, EUR, JPY, GBP, CHF) ค่าเงินเหล่านี้ มีสภาพคล่องสูง
และน่าดึงดูดให้เทรดมากที่สุด
Base Currency
base
currency คือ ค่าเงินตัวแรก หรือตัวหน้าของคู่เงินแต่ละคู่
แสดงมูลค่าเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับ second currency ตัวอย่างเช่น ถ้า
USD/CHF เรท เท่ากับ 1.6350 หมายความว่า 1 ดอลล่าร์ มีมูลค่าเท่ากับ 1.6350
สวิสฟรังค์ ในตลาดฟอร์เร็กซ์ดอลล่าร์ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็น ค่าเงินพื้นฐาน
(base currency) ในการคำนวณ คือ เราใช้เงิน 1 USD
เทียบกับค่าเงินอื่นในคู่อื่น ๆ นั้น แต่ยกเว้นค่าเงินเหล่านี้ เงินปอนด์
เงินยูโร เงินดอลล่าร์ออส เตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะใช้ค่าเงินตัวเองเป็น
ค่าเงินพื้นฐานในการคำนวณ
Quote Currency
quote
currency หรือค่าเงินอ้างอิง เป็นค่าเงินตัวที่สองของคู่เงิน
ที่มีในตลาดฟอร์เร็กซ์ ซึ่งบางครั้งอาจจะ เรียกว่า pip currency
และกำไรที่เรายังไม่รับรู้ (คือยังไม่ได้ปิด position)
ก็จะถูกอธิบายมาเป็นค่าเงินนี้
Pip
pip
คือหน่วย ที่เล็กที่สุดของราคาในแต่ละค่าเงิน
แทบทุกค่าเงินจะมีทศนิยมอยู่ข้างหลังตัวเลขอยู่เสมอ ตัวอย่าง EUR/USD
อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.2538. ในที่นี้ 1 pip
เป็นการเปลี่ยนแปลงในสี่จุดทศนิยม นั่นก็คือ 0.0001 ดังนั้น
ถ้าค่าเงินอ้างอิงในคู่เงินใด ๆ คือ USD 1 จะเท่ากับ 1/100 ของ 1 cent.
USD/JPY มีข้อยกเว้น เพราะว่า 1 pip = $0.01.
Bid Price
Bid
เป็นราคาตลาด ที่ใช้ในการซื้อค่าเงินในตลาดฟอร์เร็กซ์ ณ ราคานี้
เทรดเดอร์ใช้ในการ sell base currency.
จะแสดงอยู่ทางด้านซ้ายของราคาค่าเงิน ตัวอย่าง ในคู่ GBP/USD 1.8812/15,
bid Price คือ 1.8812. หมายถึง เรา sell 1 ปอนด์ แล้วเราจะได้เงิน 1.8812
ดอลล่าร์
Ask Price
Ask
เป็นราคาที่ใช้ในการขายค่าเงินใด ๆ ในตลาดฟอร์เร็กซ์ ที่ราคานี้ เทรดเดอร์
จะ buy base currency และ อยู่ด้านขวา ของราคาค่าเงิน ตัวอย่าง EUR/USD
1.2812/15 ask price คือ 1.2815 หมายถึง เราสามารถ buy 1 ยูโร โดยใช้เงิน
1.2815 ดอลล่าร์ และราคานี้เรียกว่า offer price.
Bid/Ask Spread
Spread
เป็นความแตกต่างระหว่างราคา bid กับ ask "big figure quote"
เป็นคำพูดที่โบรคเกอร์ใช้ในการอธิบาย ค่าเงิน ที่มีทศนิยมน้อย
โบรคเกอร์จะไม่พูดตัวเลขค่าเงินหลักข้างหน้า ตัวอย่างเช่น USD/JPY
มีอัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 118.30/118.34 แต่ว่าพวกเขาจะเรียกสั้น ๆ ว่า
30/34
ที่มาของอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราเปลี่ยนในตลาดฟอร์เร็กซ์ อธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้ Base currency / Quote currency , Bid / Ask
Transaction Cost
ค่า
bid/ask หรือ spread นั้นก็คือ transaction cost
เป็นค่าใช้จ่ายในการเทรดต่อครั้งนั่นเอง หนึ่งรอบ จึง หมายถึง การซื้อ
(หรือขาย) และการปิดบัญชีที่เราซื้อ(หรือขาย) ในขนาดของออร์เดอร์ที่เท่ากัน
และค่าเงิน เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ EUR/USD
อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1.2812/15, transaction cost เท่ากับ 3 จุดนั่นเอง
สูตรในการคำนวณ Transaction Cost คือ Transaction cost = Ask Price – Bid
Price
Cross Currency
cross currency
คือคู่เงินใด ๆ ที่ไม่มีค่าเงินดอลล่าร์อยู่ในคู่เงินนั้น ๆ
ซึ่งคู่เหล่านี้จะเอาแน่เอานอนไม่ได้ (ผันผวน)
เพราะต้องใช้คู่เงินที่มีดอลล่าร์สองคู่มาเทียบข้ามคู่กัน ตัวอย่าง ในการ
buy EUR/GBP หมายความว่า เรากำลัง buy คู่ EUR/USD และกำลัง sell คู่
GBP/USD อยู่ การเล่นคู่ที่เป็น Cross currency จะทำให้มีค่า transaction
cost สูงขึ้นด้วย
Margin
เมื่อเปิดบัญชีแบบ
มาร์จิ้นใหม่กับฟอร์เร็กซ์โบรคเกอร์ เราต้องฝากเงินไว้กับโบรคเกอร์ด้วย
ซึ่งก็จะมีขั้นต่ำ แล้วแต่ว่า โบรคเกอร์จะให้ฝากเท่าไหร่
บางโบรคเกอร์อาจจะให้ฝากแค่ 100 เหรียญ และบางโบรคเกอร์อาจจะให้ฝากถึง
100,000 เหรียญ (บางโบรคเกอร์ มีเงินจริงเล็กน้อย ให้เล่นในบัญชี
ซึ่งจะถูกหักกลับเมื่อจะมีการโอนออกครั้งแรก) ในแต่ละครั้ง ที่คุณเทรด
จะคิดเเป็นเปอร์เซ็นต์ของของเงินทั้งหมดของบัญชีมาร์จิ้น จะเรียกว่า
initial margin requirement ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าเงินและราคา
รวมทั้งขนาดของลอทของคู่เงินนั้น ๆ ที่เราเทรด ซึ่งขนาดของลอทคือ ขนาดของ
base currency. ตัวอย่าง หากเราเปิดบัญชี mini ซึ่งสามารถใช้ Leverage
ได้ที่ 200:1 หรือ 0.5 % ของมาร์จิ้น บัญชีแบบ Mini สามารถเทรด mini lot
ได้ ถ้าให้ 1 mini lot เท่ากับ 10,000 เหรียญ เราจะต้องใช้ มาจิ้นเท่ากับ
50 เหรียญ ($10,000 x 0.5% = $50).
Leverage
Leverage
คือ อัตราส่วนของทุนที่ใช้เป็นต้นทุนในการส่งออร์เดอร์
ซึ่งจะต้องใช้มาร์จิ้น Leverage เป็นสิ่งที่สามารถ
ใช้เงินจำนวนหนึ่งในการถือครอง Position ที่ใหญ่กว่าจำนวนเงินทุนของเรา
Leverage จะแตกต่างกันไป ตามแต่ละ โบรคเกอร์ ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ 2:1
ไปจนถึง 400:1
Margin + Leverage = ความสามารถในการพิฆาตบัญชีของคุณในพริบตา
การ
เทรดค่าเงินที่ใช้มาร์จิ้นนี้ เราสามารถเพิ่มพลังในการซื้อได้
คือถ้าเรามีเงินอยู่ 5,000 เหรียญ ในบัญชีมาร์จิ้น และใช้อัตรา leverage
ที่ 1:100 ก็จะสามารถซื้อค่าเงินได้มูลค่าถึง 500,000 เหรียญ
เพราะเราแค่ใช้มาร์จิ้นแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าที่จะซื้อได้
หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า เรามีกำลังซื้อถึง 500,000 เหรียญ
ด้วยกำลังซื้อที่สูงนี้ สามารถให้ผลตอบแทนต่อส่วนทุนมีสูงขึ้น
แต่ก็ต้องระวังไว้เช่นกัน เพราะการใช้มาร์จิ้น ทำให้มี โอกาส ได้กำไรสูง
และขาดทุนสูงเท่า ๆ กัน
Margin Call
เทรด
เดอร์ส่วนใหญ่จะกลัวกับคำว่า margin call
เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อโบรคเกอร์ บอกว่า ตอนนี้ มาร์จิ้นของคุณ
น้อยกว่าเกณฑ์ที่ต้องใช้ในการถือครอง position เพราะ ค่าเงินนั้น
เคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับ Position ที่ถืออยู่
ขณะที่กำลังเทรดโดยใช้มาร์จิ้นนั้น เราอาจจะมีกลยุทธ์ที่ทำกำไรได้
แต่ว่ามันสำคัญที่ต้องเข้าใจความเสี่ยงด้วย ต้องเข้าใจ
เกี่ยวกับบัญชีมาร์จิ้นอย่างละเอียด และต้องอ่านข้อตกลง
ตอนเปิดบัญชีระหว่างเรากับโบรคเกอร์ อย่างถี่ ถ้วน ให้ถามโบรคเกอร์
ถ้าไม่เข้าใจข้อตกลงข้อไหน Position จะต้องถูกปิด
แต่ราคามันอาจจะวิ่งไปต่ำกว่า มาร์จิ้น ที่มีในบัญชี
เมื่อราคามีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น คุณอาจจะไม่ได้รับการเตือน
margin call เพราะ ออร์เดอร์ของคุณจะโดนปิดไปซะก่อน(เรื่องที่ไม่คาดฝัน)
Margin calls สามารถเลี่ยงได้โดยการดูหน้าจอเทรด ให้บ่อยขึ้น หรือ
โดยการใช้ stop-loss order เพื่อจำกัดความเสี่ยง
หมายเหตุผู้แปล :
margin
call ตามความรู้ของผู้แปลคือ
การที่บัญชีถึงจุดต่ำกว่ามาร์จิ้นที่ต้องใช้ในการถือครอง position ปกติ
จะใช้ใน ตลาด future ซึ่งถ้ายอดขาดทุนต่ำกว่า
ทางโบรคเกอร์จะเรียกให้ฝากมาร์จิ้นเพิ่ม ไม่เช่นนั้น โบรคเกอร์ ก็จะปิด
position ของเราเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนกับโบรคเกอร์
เพราะตลาดฟิวเจอร์มีการใช้ Leverage เหมือนกับ ตลาดค่าเงิน แต่อาจจะ
ต่ำกว่ามาก
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,554.0.html
วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558
คำศัพท์ประจำวงการ forex
ป้ายกำกับ:
การทบทวน,
ทักษะใหม่ ๆ,
Base Currency,
Bid Price,
forex,
major currencies,
minor currencies,
PIP,
quote currency