วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความผิดพลาดที่สำคัญ 9 ประการของนักลงทุน



1. ลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มากเกินกว่าที่คุณจะสูญเสียได้
หนึ่งในอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการลงทุนให้ประสบความสำเร็จคือการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ที่คุณไม่สามารถจะเสียไปได้  เช่น จำนวนเงินที่คุณจะต้องใช้ผ่อนค่างวด หรือค่าเทอมลูก ในกรณีเช่นนี้ เราเรียกว่า การลงทุนด้วยเงินร้อน (Trading with scared money) และในท้ายที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อในส่วนลึกของจิตใจ นักลงทุนเหล่านั้นรู้ว่าพวกเขากำลังเสี่ยงด้วยเงินที่เปรียบเสมือนเงินที่ยืมมา พวกเขาจะลงทุนด้วยอารมณ์และความกลัว โดยปราศจากเหตุผล ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ เราแนะนำให้คุณหยุดการลงทุน จนกระทั่งคุณสามารถลงทุนด้วยจำนวนเงินที่คุณสามารถจะเสียได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางการเงิน คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยจำนวนก้อนที่ไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น 50,000 บาท และลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท

2. ความต้องการความแน่นอน
เราทุกคนต้องมั่นใจว่าการลงทุนจะคุ้มค่า ดังนั้นเราจึงควรมองหาสัญญาณที่จะยืนยันจุดที่ควรเข้าลงทุน สัญญาณที่กล่าวถึงนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การเปิดช่องยูบีซี หรือ อ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตลาดทุน เพื่อทราบถึงข่าวสารว่าหลักทรัพย์ใดอยู่ในช่วงที่น่าลงทุน หรือหลักทรัพย์ใดที่ควรรอจังหวะเข้าซื้อเมื่อแน่ใจว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้น  นักลงทุนบางคนอาจรับฟังข่าวสารจากเพื่อน ครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่การตลาด (โบรกเกอร์) บางคนอาจรอจังหวะที่ดัชนีชี้นำทางเทคนิคทั้งหลายแสดงสัญญาณที่ดีจึงเข้าซื้อ สิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้อผิดพลาดที่สำคัญและควรระวังมาก ก็คือ การใช้เวลามากเกินไปจนคุณปล่อยให้ราคาสูงขึ้นโดยที่คุณยังไม่ได้ซื้อ สิ่งที่ตามมาก็คือ ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเมื่อราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนที่จะเข้าซื้อหุ้นนั้นมีน้อยลง ทำให้แรงซื้อน้อยลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงจนกว่าจะมีแรงซื้อเข้ามาใหม่ ซึ่งก็เปรียบได้กับเกมเก้าอี้ดนตรี คนที่ช้าที่สุดก็จะไม่มีเก้าอี้เหลือให้นั่ง นักลงทุนที่รอแล้วรออีกเพื่อให้มั่นใจมากๆ จริงๆแล้วก็คือคนที่จะซื้อที่จุดสูงสุดก่อนที่ราคาหุ้นจะตกลง แล้วก็จะโทษว่าเป็นเพราะเลือกหุ้นผิดตัว ความจริงคือข้อผิดพลาดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกหุ้น แต่เกี่ยวกับจังหวะของการลงทุน
สิ่งที่ควรจำใส่ใจคือไม่มีความแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ในการลงทุนครั้งใดๆก็ตาม สิ่งที่จะทำได้ก็คือศึกษาถึงความเสี่ยงประกอบกับความเชื่อมั่น

3. ใช้กำไรก่อนที่จะทำกำไรได้
ไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้นไปกว่าการลงทุนที่ให้กำไรที่งดงาม แต่สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน เพราะมันให้คุณฝันหวานถึงกำไรก้อนใหญ่ คุณอาจจะบอกว่า “ว้าว! เงินลงทุนฉันเพิ่มขึ้น 15% ใน 2 วัน แล้วจะเพิ่มเป็น 50 % ใน 2 สัปดาห์และ อาจจะกลายเป็นเท่าตัวในพริบตา!”  สิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ คุณอาจคิดถึงรถใหม่คันหรูที่คุณคิดจะซื้อ หรืออาจจะบอกเจ้านายคุณว่าเขาก็ทำแบบเดียวกันได้ ถึงตอนนี้คุณคงนึกภาพออก ปัญหาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อคุณยึดติดกับความใฝ่ฝันนั้น และไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะถอยออกมาเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะที่ไม่ดี และทำให้กำไรลดลง เพราะคุณถึงแต่ผลกำไรที่จะได้รับโดยไม่ยอมรับสถานการณ์จริง วิธีแก้ไขง่ายๆก็คือ ต้องรู้ว่าจะขายทำกำไรเมื่อไหร่และอย่างไร เมื่อลงทุน  และต้องจำไว้ว่าตลาดจะขึ้นสูงเท่าที่มันจะขึ้นได้  ไม่ใช่ว่าจะขึ้นสูงเท่าที่คุณคิดว่ามันจะขึ้นได้

4. การแสดงความคิดเห็น
เรากำลังจะบอกคุณว่าตลาดไม่สนใจคุณหรอกว่าคุณจะคิดอย่างไร ถึงแม้ว่าคุณจะอ้างอิงถึงบทวิเคราะห์ที่เกิดจากความอุตสาหะ หรืออ้างอิงถึง ผู้เชี่ยวชาญตลาดหุ้นไทย  นั่นไม่สำคัญหรอก

5. คำ 3 คำที่จะฆ่าคุณได้ หวัง-ขอ-อธิษฐาน
ถ้าคุณพบว่าคุณทำ 1 อย่าง หรือมากกว่า ของคำที่กล่าวไว้ เมื่อคุณลงทุน คุณกำลังลำบากแล้วล่ะ! ดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว ตลาดไม่สนใจคุณหรอก ดังนั้น ความหวัง คำขอ หรือคำอธิษฐาน ทั้งหลายไม่สามารถเปลี่ยนขาดทุนเป็นกำไร
เมื่อคุณคาดการณ์ผิด วิธีการง่ายๆที่จะแก้ไขสถานกาณ์ คือ ขาย!!

6. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนเริ่มไม่ทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้  อาจจะเป็นเวลาซัก 1 อาทิตย์ที่พวกเค้าจะลงทุนตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แต่อีก1 อาทิตย์จะทำสิ่งที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง  การทำเช่นนี้ทำให้เจ็บตัวได้ง่าย เนื่องจากไม่มีใครสามารถบอกได้แน่ชัดว่ากลยุทธ์ใด จะได้ผลหรือไม่ ดังนั้นต้องจำไว้ว่าไม่ควรทำสิ่งที่ผิดไปจากแผนหรือวิธีการเมื่อคุณได้เริ่มต้นไปแล้ว  หากคุณพบว่ากลยุทธ์นั้นใช้ได้ผลเมื่อดูจากสถิติ ก็ไม่มีเหตุผลที่คุณจะเปลี่ยนกลยุทธ์  ทางที่จะทำกำไรคือ ซื้อขายซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งถึงจุดที่กลยุทธ์นั้นจะใช้ไม่ได้ผล อีกด้านที่ต้องระวังก็คือ นักลงทุนมักจะขาดความมั่นคงและมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแผนการลงทุนได้มากหลังจากขาดทุน 2-3 ครั้ง  ดังนั้น ในช่วงเวลาเช่นนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

7. ไม่รู้ว่าจะถอนตัวจากการลงทุนที่ขาดทุนได้อย่างไร
มีหลายครั้งที่นักลงทุนไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการนำตัวเองออกจากการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า  พวกเขามักจะคาดหวัง และคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองในการที่จะไม่ถอนตัวและยอมขาดทุน ดังเช่นที่เราบอกซ้ำแล้วซ่ำเล่า ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะคิดอะไร  มันเคลื่อนไปตามทางของมัน และเมื่อตลาดไม่เป็นไปตามที่คุณคิด นั่นคือคุณคิดผิด วิธีง่ายที่สุดที่จะทำให้สถานะการลงทุนไม่แย่ลงกว่าเดิม ก็คือต้องคิดก่อนที่จะลงทุนว่า เมื่อไรจะออกจากตลาด โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรือ กำหนดจุดเป้าหมาย เช่น จุดที่เท่ากับจุดต่ำสุดในช่วงเวลา 15 นาทีก่อน ต้องมั่นใจว่าคุณจะไม่ปล่อยให้ราคาตกลงจนถึงจุดหยุดขาดทุนโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากความกลัวและความไม่เชื่อว่าคุณคิดผิด นั่นจะทำให้คุณเกิดปัญหาด้านการเงิน เว้นแต่ว่าคุณจะสามารถหยุดขาดทุนได้โดยเร็ว

8. มีความมั่นใจ
คนที่เข้าลงทุนในตลาดนั่นมีหลายคนที่เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจด้านอื่นๆ เหตุนี้เองทำให้พวกเขามีความมั่นใจสูงและคิดว่าพวกเขาไม่มีทางที่จะล้มเหลว  ความมั่นใจเช่นนี้กลายเป็นข้อเสียสำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าลงทุนผิดพลาดและควรต้องหยุดการลงทุนที่ขาดทุน และเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากไหน นั่นไม่เกี่ยวข้องกับตลาด รวมถึงปริญญา ประกาศนียบัตร ความสามารถในการจูงใจ หรือ ความรอบรู้เชิงธุรกิจ ไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มตลาด เวลาที่คุณคาดการณ์ผิด

9. หลงใหลในหุ้นหรือการลงทุน
ห้ามหลงใหลในหุ้นเด็ดขาด เพราะนั่นจะให้บทเรียนที่สาหัสแก่คุณ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,46.0.html

0 ความคิดเห็น: