วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พื้นฐานดี แต่เทคนิคห่วย VS. เทคนิคสวย แต่ห่วยคุณภาพ

อยู่ในตลาดมาซักระยะ คุณจะสามารถแบ่งประเภทของหุ้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าจะแบ่งแบบไหน
แบบหนึ่งที่ผมแบ่งได้ ก็คือ การแบ่งตามคุณภาพ
คุณภาพของอะไร?
ผมดู 2 มุมครับ
คุณภาพของพื้นฐาน และคุณภาพทางเทคนิค ซึ่งเมื่อแบ่งออกมาแล้ว ก็ได้หุ้น 4 ประเภทดังนี้


จากภาพ ในฐานะที่ผู้อ่านก็เป็นนักลงทุนเหมือนกันกับผม คุณจะเลือกหุ้นที่อยู่ในกล่องไหน?
คำตอบที่ทุกคนตอบก็คือ ถ้าเลือกได้ ก็ขอเลือกกล่องสีเขียว นั้นก็คือ พื้นฐานดี + กราฟสวย นั้นเอง

พื้น ฐานดี ดียังไง กราฟสวย สวยยังไง ไม่ขอเอ่ยถึงในบทความตอนนี้นะครับ เพราะนิยามของคำว่าดีแต่ละคนอาจจะมีแตกต่างในรายละเอียด เอาเป็นว่า พื้นานดี กราฟสวย ในสายตาของแต่ละคนก็แล้วกัน

กล่องที่ไม่มีใครเลือกลงทุนแน่ๆหากวิเคราะห์หุ้นตัวนั้นแล้ว ก็คือ กล่องสีแดง หรือ พื้นฐานห่วย + กราฟไม่สวย อันนี้ก็เห็นตรงกันนะ

หาก คุณลองแบ่งหุ้น แบ่งกองทุน หรือ หลักทรัพย์อะไรก็แล้วแต่ตามคุณภาพของพื้นฐานและกราฟเทคนิค หุ้นจะตกอยู่ใน 4 ประเภทนี้ไม่นี้ไปไหน และถ้าเจอกล่องสีเขียว คุณก็จะกด Favorite หรือเอาไว้ใน Watchlist ทันที บางทีก็เคาะซื้อเลยด้วยซ้ำ

แต่ในโลก ความเป็นจริง เวลาเรานั่งวิเคราะห์ไปเรื่อยๆ หุ้นที่จะตกอยู่ในกล่องสีเขียว มักจะไม่ค่อยมี สาเหตุเพราะ ถ้าหุ้นมันดีจริง มันต้องมีคนซื้อไปหมดแล้ว จริงม๊ะ? ยกเว้นหุ้นที่มีการเปลี่ยนปัจจัยบางอย่างอย่างฉับพลัน ยกตัวอย่างเช่น ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแล้วชนะคดี หรือ กำไรสุทธิโตกว่าที่คาด 50% อะไรประมาณเนี่ย หุ้นจำพวกนี้อาจสามารถขึ้นได้หลายๆเด้ง ซึ่งมันก็มีไม่เยอะอีกนั้นหล่ะ

แล้วหุ้นอะไรที่เราเจอบ่อยๆ?
คำตอบ หุ้นที่อยู่ในกล่องสีส้ม และกล่องสีฟ้า นั้นเอง

ใน ภาวะที่ตลาดขาขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน ปรับฐานทีไรก็ย่อตัวไม่แรง ราคาไม่ถูกจนต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานซักที เราจะหาหุ้นที่กำไรดีและราคายังถูกแทบไม่เจอ กลับเจอแต่หุ้นที่ไม่สมประกอบ พื้นฐานดีสุดๆ แต่ราคานิ่งไม่ไปไหน (กราฟบอกว่ายังไม่ขึ้น) เจอแบบนี้ซื้อไป ก็กลัวไม่วิ่งตามคนอื่น หรือ กราฟสวยเว่อร์ แต่หันไปเจองบ แล้วอยากสงบดีกว่า เจอแบบนี้ ซื้อไปก็กลัวโดนแรงขายออกมาอีก เปรียบได้เหมือนกับช่วงนี้นะครับ ที่ระดับดัชนีตรง 1,200 จุด ไม่ต้องใครนักวิเคราะห์มาบอก เราก็รู้ว่า ตรงนี้ มันไม่ถูกแล้ว

แล้วถ้าอยากถือหุ้นเข้าพอร์ตละ เลือกอันไหน?
นี่คือประเด็นของหัวข้อนี้  ถ้าเราต้องตัดสินใจลงทุนหุ้นพิการ (ดีไม่ครบ 2 อย่าง) เราจะเอาพิการทางไหน พิการทาง Fundamental หรือ พิการทาง Technical

คำตอบที่ถูกต้องคือ ……. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องครับ อ้าววววววว

นัก ลงทุนระยะยาว รับความเสี่ยงได้สูง ไม่มีเวลาในการติดตามตลาด คนเหล่านี้ เขาเหมาะกับการซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยไม่ต้องไปสนว่า ตอนนี้กราฟจะสวยไม่สวย เพราะเขาเชื่อว่ายังไงในอนาคตอันไกลมันต้องวิ่งไปอยู่ดี
นักลงทุนระยะ สั้น ผู้รับความเสี่ยงได้สูง มีเวลาเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด เขาก็อาจเหมาะกับหุ้นกราฟสวย ไม่สนใจพื้นฐาน สาเหตุก็เพราะ เขาเล่นสั้น ไม่ได้จะรอให้งบออกค่อยขายซะหน่อย ได้กำไรปั๊บ เดี๋ยวก็ขายออกแล้ว ดังนั้น ปัจจัยพืันฐานสำหรับเขาจึงมีน้ำหนักน้อยกว่า

แต่ก็มีนักลงทุนอีกแบบ
เขา คิดว่า ถ้าหุ้นตัวนั้น มันไม่ได้อยู่ในกล่องสีเขียว หัวเด็ดตีนขาดฉันก็จะไม่ซื้อ นักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะเลือกรอเวลาอย่างใจเย็น และคอยหาจังหวะที่ คุณภาพทั้ง 2 มุม เข้าเงื่อนไขอย่างที่ตั้งไว้ เขาอาจจะพลาดโอกาสการเข้าซื้อ ถ้าหุ้นมันไม่ปรับตัวลงมาอย่างที่มองไว้ แต่เขาก็ยอมรับได้ ไม่คิดเสียดายทีหลัง

จากตัวอย่างนักลงทุนทั้ง 3 ประเภท ลองสำรวจดูนะครับ คุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน?

เมื่อคุณรู้ตัว คำถามที่ว่า  พื้นฐานดี แต่เทคนิคห่วย VS. เทคนิคสวย แต่ห่วยคุณภาพ เลือกอันไหนดี? ก็จะไม่มีให้คาใจ

ไม่ ว่าจะเป็นคนธรรมดา หรือว่าเป็นนักลงทุน สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก็คือ “รู้จักตัวเอง” เพราะถ้าคุณไม่รู้จักตัวเอง คุณก็จะเที่ยวแสวงหาสิ่งที่ทำให้คุณพอใจเพียงอย่างเดียว โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่พอใจ มันไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับคุณ แต่ถ้าเราเจอสิ่งที่เหมาะกับจริต นิสัยเรา มันจะเหมาะกับเราไปตลอด เพราะนิสัยมันเป็นเรื่องแก้ยากที่สุด เปลี่ยนยากที่สุด คุณว่าจริงไหม

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,489.0.html

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทนำกลยุทธ์การเก็งกำไร

ประเด็นหนึ่งที่นักเล่นหุ้นทั้งหลายสับสนกับชีวิต ว่าควรจะเป็นนักลงทุน หรือ นักเก็งกำไรดี เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะ “เมื่อซื้อหุ้นอยากลงทุน แต่พอหุ้นขึ้นแรง กลับขาย เพราะอยากเก็งกำไร”  “แต่เมื่อซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร หวังให้หุ้นขึ้น แต่พอหุ้นตกกลับบอกขอถือเพื่อเป็นการลงทุน”  แต่สำหรับตัวผม แล้วมองทุกอย่าง ก็คือการเก็งกำไร หากคุณอยากที่จะขายเพื่อทำกำไรจากสิ่งนั้นๆ ยกเว้นเสียแต่ ผู้ที่ซื้อหุ้นเพื่อสะสม หรือเก็บไว้เพื่อรับปันผล ดังเช่น วอเรนต์บัฟเฟต หรือ ผู้ที่ชอบซื้อสิ่งของที่มีค่าสะสม เช่น รูปภาพ, แสตมป์ หรือของ โบราณ เพื่อขายในราคาที่สูงจนเกินความพอใจ มากๆ (โดยที่ไม่ขายก็ไม่เดือดร้อน เพราะชอบและรัก กับของสะสมนั้นๆอยู่แล้ว) จึงจะเรียกว่านักลงทุน

ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องรู้คือ รู้จักตัวเอง ก่อนที่จะรู้จัก สิ่งอื่นๆ เพราะ หากเรารู้จักตัวเองดีพอ ก็จะสามารถ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน หรือการวางแผน ให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นผมจึงรวบรวมข้อคิดที่ จะมาบอกกล่าว ในรูป กลยุทธ์ การเก็งกำไรกัน ซึ่งบทความนี้อาจจะมีบางส่วนที่อ้างอิง จากหนังสือ เรื่อง “The Zurich Axioms”

บทนำกลยุทธ์การเก็งกำไร
“ในตลาดการลงทุนส่วนใหญ่มักมองว่า การเก็งกำไรเป็นเรื่องเลวร้าย ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนโดยสิ้นเชิง  แต่ความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนต่างหาก ที่ล้วนแล้วแต่ต้องการกำไร จากการลงทุน เพียงมองแต่ว่า การใช้ระยะเวลา หรือผลประโยชน์ระยะสั้น ก็จะมองเพียงเป็นการเก็งกำไร แต่การร่วมลงทุนในระยะยาวถือเป็นการลงทุน แต่แท้ที่จริงทุกคนต่างมองถึงผลประโยชน์ ซึ่งปรับแต่งคำพูดให้สวยงามว่าเราต่างเป็นนักลงทุน”

โดยธรรมชาติแล้วกิจกรรมการเงินอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดกำไรมักจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องจะเป็นนักเสี่ยงโชคหรือไม่ก็ตาม วิธีเดียวที่ทำให้ความเสี่ยงใกล้ศูนย์คือการฝากเงินกับธนาคารหรือนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล แต่ผลตอบแทนก็ย่อมต่ำไปด้วย ด้วยเหตุนี้บรรดานักลงทุนที่กระตือรือร้นต่างพยายามขวนขวายหาการลงทุนแบบอื่นที่ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงสูงกว่า แต่ที่แปลกคือทุกคนต่างไม่ยอมรับว่าตนเองกำลังเก็งกำไร กำลังเสี่ยงเงินของตนหรือกำลังเล่นการพนัน หากแต่แสร้งทำเป็นว่าตนเองมีความฉลาดรอบคอบและเรียกกิจกรรมที่ตนเองประกอบอยู่ว่า “การลงทุน”

ในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนและนักเก็งกำไรฟังดูไม่ต่างกันนัก เพราะการลงทุนทุกชนิดคือการเก็งกำไร แตกต่างกันแต่เพียงว่าบางคนยอมรับในขณะที่บางคนไม่ยอมรับ ไม่ว่าคุณจะเรียกกิจกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ว่าเป็นการลงทุนหรือไม่ก็ตาม ความจริงก็ยังหนีความจริงไม่พ้น เพราะการพนันก็ยังคงเป็นการพนันวันยังค่ำ เพราะฉะนั้นการลงทุนทุกชนิดคือการเสี่ยงโชค เพราะคุณต้องเลือกวางเงินของคุณไว้ข้างหน้าว่าจะแทงกองไหน ไม่ว่าคุณจะเลือกหุ้นอะไรก็ตาม ยอมรับเสียเถอะว่านั้นคือการเสี่ยงโชค ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้องมาหลอกตัวเอง

นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ เจสซี่ ลิเวอร์โมร์ กล่าวว่า
“ความเสี่ยงอาจมีผลทางบวกหรือลบ เพราะ เราอาจจะสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แทนที่จะได้รับผลตอบแทน แต่อย่างไรก็ดีถ้าเราจนลงเพราะการเสี่ยงโชคแล้ว มันก็ยังดีกว่า การที่จนลงเพราะอยู่เฉยๆ ไม่ใช่หรือ?”

“ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร คุณจะต้องเผชิญกับสิ่งที่หวานและขมเสมอ ถ้าคุณเลี้ยงผึ้ง คุณก็ย่อมถูกผึ้งต่อย แต่สำหรับผม ผมก็มีความกังวลอยู่เสมอ ถ้าใครไม่มีความกังวลแล้ว เขาผู้นั้นคงยากจนต่อไป”
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,43.0.html

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความผิดพลาดที่สำคัญ 9 ประการของนักลงทุน



1. ลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มากเกินกว่าที่คุณจะสูญเสียได้
หนึ่งในอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการลงทุนให้ประสบความสำเร็จคือการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ที่คุณไม่สามารถจะเสียไปได้  เช่น จำนวนเงินที่คุณจะต้องใช้ผ่อนค่างวด หรือค่าเทอมลูก ในกรณีเช่นนี้ เราเรียกว่า การลงทุนด้วยเงินร้อน (Trading with scared money) และในท้ายที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อในส่วนลึกของจิตใจ นักลงทุนเหล่านั้นรู้ว่าพวกเขากำลังเสี่ยงด้วยเงินที่เปรียบเสมือนเงินที่ยืมมา พวกเขาจะลงทุนด้วยอารมณ์และความกลัว โดยปราศจากเหตุผล ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ เราแนะนำให้คุณหยุดการลงทุน จนกระทั่งคุณสามารถลงทุนด้วยจำนวนเงินที่คุณสามารถจะเสียได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางการเงิน คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยจำนวนก้อนที่ไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น 50,000 บาท และลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท

2. ความต้องการความแน่นอน
เราทุกคนต้องมั่นใจว่าการลงทุนจะคุ้มค่า ดังนั้นเราจึงควรมองหาสัญญาณที่จะยืนยันจุดที่ควรเข้าลงทุน สัญญาณที่กล่าวถึงนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การเปิดช่องยูบีซี หรือ อ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตลาดทุน เพื่อทราบถึงข่าวสารว่าหลักทรัพย์ใดอยู่ในช่วงที่น่าลงทุน หรือหลักทรัพย์ใดที่ควรรอจังหวะเข้าซื้อเมื่อแน่ใจว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้น  นักลงทุนบางคนอาจรับฟังข่าวสารจากเพื่อน ครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่การตลาด (โบรกเกอร์) บางคนอาจรอจังหวะที่ดัชนีชี้นำทางเทคนิคทั้งหลายแสดงสัญญาณที่ดีจึงเข้าซื้อ สิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้อผิดพลาดที่สำคัญและควรระวังมาก ก็คือ การใช้เวลามากเกินไปจนคุณปล่อยให้ราคาสูงขึ้นโดยที่คุณยังไม่ได้ซื้อ สิ่งที่ตามมาก็คือ ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเมื่อราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนที่จะเข้าซื้อหุ้นนั้นมีน้อยลง ทำให้แรงซื้อน้อยลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงจนกว่าจะมีแรงซื้อเข้ามาใหม่ ซึ่งก็เปรียบได้กับเกมเก้าอี้ดนตรี คนที่ช้าที่สุดก็จะไม่มีเก้าอี้เหลือให้นั่ง นักลงทุนที่รอแล้วรออีกเพื่อให้มั่นใจมากๆ จริงๆแล้วก็คือคนที่จะซื้อที่จุดสูงสุดก่อนที่ราคาหุ้นจะตกลง แล้วก็จะโทษว่าเป็นเพราะเลือกหุ้นผิดตัว ความจริงคือข้อผิดพลาดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกหุ้น แต่เกี่ยวกับจังหวะของการลงทุน
สิ่งที่ควรจำใส่ใจคือไม่มีความแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ในการลงทุนครั้งใดๆก็ตาม สิ่งที่จะทำได้ก็คือศึกษาถึงความเสี่ยงประกอบกับความเชื่อมั่น

3. ใช้กำไรก่อนที่จะทำกำไรได้
ไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้นไปกว่าการลงทุนที่ให้กำไรที่งดงาม แต่สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน เพราะมันให้คุณฝันหวานถึงกำไรก้อนใหญ่ คุณอาจจะบอกว่า “ว้าว! เงินลงทุนฉันเพิ่มขึ้น 15% ใน 2 วัน แล้วจะเพิ่มเป็น 50 % ใน 2 สัปดาห์และ อาจจะกลายเป็นเท่าตัวในพริบตา!”  สิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ คุณอาจคิดถึงรถใหม่คันหรูที่คุณคิดจะซื้อ หรืออาจจะบอกเจ้านายคุณว่าเขาก็ทำแบบเดียวกันได้ ถึงตอนนี้คุณคงนึกภาพออก ปัญหาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อคุณยึดติดกับความใฝ่ฝันนั้น และไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะถอยออกมาเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะที่ไม่ดี และทำให้กำไรลดลง เพราะคุณถึงแต่ผลกำไรที่จะได้รับโดยไม่ยอมรับสถานการณ์จริง วิธีแก้ไขง่ายๆก็คือ ต้องรู้ว่าจะขายทำกำไรเมื่อไหร่และอย่างไร เมื่อลงทุน  และต้องจำไว้ว่าตลาดจะขึ้นสูงเท่าที่มันจะขึ้นได้  ไม่ใช่ว่าจะขึ้นสูงเท่าที่คุณคิดว่ามันจะขึ้นได้

4. การแสดงความคิดเห็น
เรากำลังจะบอกคุณว่าตลาดไม่สนใจคุณหรอกว่าคุณจะคิดอย่างไร ถึงแม้ว่าคุณจะอ้างอิงถึงบทวิเคราะห์ที่เกิดจากความอุตสาหะ หรืออ้างอิงถึง ผู้เชี่ยวชาญตลาดหุ้นไทย  นั่นไม่สำคัญหรอก

5. คำ 3 คำที่จะฆ่าคุณได้ หวัง-ขอ-อธิษฐาน
ถ้าคุณพบว่าคุณทำ 1 อย่าง หรือมากกว่า ของคำที่กล่าวไว้ เมื่อคุณลงทุน คุณกำลังลำบากแล้วล่ะ! ดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว ตลาดไม่สนใจคุณหรอก ดังนั้น ความหวัง คำขอ หรือคำอธิษฐาน ทั้งหลายไม่สามารถเปลี่ยนขาดทุนเป็นกำไร
เมื่อคุณคาดการณ์ผิด วิธีการง่ายๆที่จะแก้ไขสถานกาณ์ คือ ขาย!!

6. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนเริ่มไม่ทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้  อาจจะเป็นเวลาซัก 1 อาทิตย์ที่พวกเค้าจะลงทุนตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แต่อีก1 อาทิตย์จะทำสิ่งที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง  การทำเช่นนี้ทำให้เจ็บตัวได้ง่าย เนื่องจากไม่มีใครสามารถบอกได้แน่ชัดว่ากลยุทธ์ใด จะได้ผลหรือไม่ ดังนั้นต้องจำไว้ว่าไม่ควรทำสิ่งที่ผิดไปจากแผนหรือวิธีการเมื่อคุณได้เริ่มต้นไปแล้ว  หากคุณพบว่ากลยุทธ์นั้นใช้ได้ผลเมื่อดูจากสถิติ ก็ไม่มีเหตุผลที่คุณจะเปลี่ยนกลยุทธ์  ทางที่จะทำกำไรคือ ซื้อขายซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งถึงจุดที่กลยุทธ์นั้นจะใช้ไม่ได้ผล อีกด้านที่ต้องระวังก็คือ นักลงทุนมักจะขาดความมั่นคงและมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแผนการลงทุนได้มากหลังจากขาดทุน 2-3 ครั้ง  ดังนั้น ในช่วงเวลาเช่นนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

7. ไม่รู้ว่าจะถอนตัวจากการลงทุนที่ขาดทุนได้อย่างไร
มีหลายครั้งที่นักลงทุนไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการนำตัวเองออกจากการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า  พวกเขามักจะคาดหวัง และคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองในการที่จะไม่ถอนตัวและยอมขาดทุน ดังเช่นที่เราบอกซ้ำแล้วซ่ำเล่า ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะคิดอะไร  มันเคลื่อนไปตามทางของมัน และเมื่อตลาดไม่เป็นไปตามที่คุณคิด นั่นคือคุณคิดผิด วิธีง่ายที่สุดที่จะทำให้สถานะการลงทุนไม่แย่ลงกว่าเดิม ก็คือต้องคิดก่อนที่จะลงทุนว่า เมื่อไรจะออกจากตลาด โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรือ กำหนดจุดเป้าหมาย เช่น จุดที่เท่ากับจุดต่ำสุดในช่วงเวลา 15 นาทีก่อน ต้องมั่นใจว่าคุณจะไม่ปล่อยให้ราคาตกลงจนถึงจุดหยุดขาดทุนโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากความกลัวและความไม่เชื่อว่าคุณคิดผิด นั่นจะทำให้คุณเกิดปัญหาด้านการเงิน เว้นแต่ว่าคุณจะสามารถหยุดขาดทุนได้โดยเร็ว

8. มีความมั่นใจ
คนที่เข้าลงทุนในตลาดนั่นมีหลายคนที่เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจด้านอื่นๆ เหตุนี้เองทำให้พวกเขามีความมั่นใจสูงและคิดว่าพวกเขาไม่มีทางที่จะล้มเหลว  ความมั่นใจเช่นนี้กลายเป็นข้อเสียสำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าลงทุนผิดพลาดและควรต้องหยุดการลงทุนที่ขาดทุน และเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากไหน นั่นไม่เกี่ยวข้องกับตลาด รวมถึงปริญญา ประกาศนียบัตร ความสามารถในการจูงใจ หรือ ความรอบรู้เชิงธุรกิจ ไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มตลาด เวลาที่คุณคาดการณ์ผิด

9. หลงใหลในหุ้นหรือการลงทุน
ห้ามหลงใหลในหุ้นเด็ดขาด เพราะนั่นจะให้บทเรียนที่สาหัสแก่คุณ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,46.0.html

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค

Why do people have to learn Technical chart. ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคหากคุณเชื่อว่า


- หากคุณเชื่อในกฎของอุปสงค์อุปทาน   Demand and Supply
- หากคุณเชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่มักซื้อด้วยอารมณ์เพราะความต้องการซื้อ มากกว่าการซื้อด้วยเหตุผลเพราะราคาถูก
- หากคุณเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีวงจรชีวิตหรือวัฏจักร
- หากคุณเชื่อว่าในตลาดมักมีคนรู้ข้อมูลภายในก่อนคนอื่นเสมอ
- หากคุณต้องการเพิ่มมุมมอง สำหรับการตัดสินใจในการลงทุน
- หากคุณไม่รู้ว่า P/E และ P/B เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูก หรือแพง เพราะในอดีตจะเห็นว่า ค่า Price to Earning ของหุ้นแต่ละตัว ตลาดหุ้นแต่ละตลาด ยังมิได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ หรือมึค่าเท่ากันทุกตลาดเลย

ซึ่งสรุปได้ว่า ณ ช่วงเวลาต่างกันในหุ้นตัวเดียวกัน มูลค่ายังมิเท่ากัน เหตุเพราะความต้องการไม่เท่ากันต่างหากที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากเรากำหนดสิ่งต่างๆ ว่าถูกหรือแพง โดยการใช้ค่า Price to earning หรือ Price to Book value เพียงอย่างเดียวนั้นคงจะไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราเงินเฟ้อ หรือราคาน้ำมัน คงจะคงที่เหมือนกันหมด

คนซื้อหุ้นเพราะเกิดจาก อารมณ์ และความคาดหวังว่า หุ้นตัวนั้นดี ราคาไม่แพง หรือน่าที่จะทำกำไรได้ เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการบอกถึงอารมณ์ของคนที่ ซื้อขายหุ้นตัวนั้นเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มไปในทิศทางใด เหตุเพราะ
- ราคาหุ้นเป็นผลรวมที่สะท้อน ถึงการทราบข่าวสารต่างๆไว้หมดแล้ว
- ราคาเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้ม
- พฤติกรรมในอดีต หรือประวัติศาสตร์มักจะเกิดซ้ำรอย

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ไม่จำเป็นต้องติดตามข่าว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะสะท้อนออกมาทางราคาหรือกราฟอยู่แล้ว
- สามารถหยุดขาดทุนหรือเลือกที่จะขายทำกำไรได้ จากกราฟ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง
- ย่นระยะเวลาในการศึกษาในหุ้นแต่ละตัว และทำให้วิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้มากขึ้น
- สามารถมองเห็นพฤติกรรมของหุ้น ที่จะขึ้นลงได้ก่อนที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงพบ
- สามารถ เก็งกำไร และเลือกลงทุนในระยะสั้น หรือระยะยาวได้

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,33.0.html

Mark Douglas ทัศนคติแห่งการเก็งกำไร

Mark Douglas เซียนหุ้นที่เป็นที่ยอมรับกันว่า เขามีความชำนาญ และแนวคิดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแง่มุมทางด้านจิตวิทยาการลงทุนเป็นอย่างสูง ในระดับต้นๆของโลก โดยเขาได้เคยเขียนหนังสือหุ้นไว้สองเล่มที่โด่งดังมาก และถือเป็น Must Read! เลยทีเดียวนั่นก็คือ The Discipline Trader และ Trading in The Zone


Douglas เริ่มต้นการเก็งกำไรในตลาด Future ในปี 1978 โดยขณะนั้น เขาทำงานเป็นผู้บริหารของบริษัทแห่งหนึ่ง จนเมื่อมีโบรกเกอร์โทรมาชักชวนให้เขาลงทุน เขาจึงเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเก็งกำไรในทองคำ และหลังจากนั้นมา เขาก็หลงใหลในการเก็งกำไรเป็นอย่างมาก เขาตัดสินใจลาออกจากงานผู้บริหาร และสมัครเข้าทำงานใน Merrill Lynch ด้วยการเป็นโบรกเกอร์แทน!!!!

ภายใน 9 เดือน Douglas ก็หมดตัว!!! เขาสูญเสียเงินสะสมทั้งหมดที่มีไปกับการเก็งกำไร แต่นั่นกลับกลายเป็นพลังให้เขาลุกขึ้นต่อสู้ และก้าวเดินต่อไปในเส้นทางที่เขาเลือก เพราะอย่างน้อยเขาได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ เขาเรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วการเก็งกำไรนั้น มันคือการต่อสู้กับจิตใจของเราเอง โดยมุมมอง และทัศนคติของเขานั้น มีส่วนสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใดในการเก็งกำไร และนั่นทำให้เขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาคิด คือสิ่งที่สำคัญมาก และนั่นทำให้หลังจากนั้น เขาเริ่มเขียนบันทึกประจำวันอย่างละเอียด

"ผมได้เขียนถึงพฤติกรรมการเก็งกำไรของผม สภาวะจิตใจของผม และสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้นกับของลูกค้าของผม โดยผมได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมที่ผมสังเกตเห็น ไม่เพียงแต่เฉพาะจากตัวของผม แต่รวมถึงทุกๆคนที่อยู่ในออฟฟิต และจากนักเก็งกำไรในห้องค้า (Floor Trader) ซึ่งผมรู้จักอีกด้วยครับ"

หลังจากเขาเทรดมาได้ 3 ปี เขายังไม่สามารถที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ จนทั้งครอบครัว และเพื่อนฝูงของเขาต่างคิดว่าเขาบ้าที่ตัดสินใจออกมาจากงานบริหารที่ทำอยู่ แทบจะไม่มีใครที่ยอมรับเขาเลย และเขารู้สึกได้ถึงความกลัวที่ยังซ่อนอยู่ในใจ แต่นั่นก็ไม่ทำให้เขาหันหลังกลับ เขาใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะทำตามความฝัน ในที่สุดจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขาก็มาถึง

"เมื่อผมคิดได้ว่าผมจะต้องทำได้!! (ซึ่งผมจำไม่ได้ว่ามันใช้เวลานานแค่ไหน) และหลังจากที่ผมรู้สึกได้อย่างนั้น ความกลัวของผมก็หายไป ผมตระหนักถึงคุณค่าในตัวของผมมากกว่าที่เคยเป็น ผมรู้สึกว่าผมยังสามารถคิดได้ ผมยังสุขภาพดีอยู่ ผมมีพรสวรรค์ และเมื่อผมตระหนักถึงคุณค่าในตัวของผมได้ ความกลัวทุกอย่างก็หายไปในทันที ผมเห็นรูปแบบพฤติกรรมที่คอยปิดกั้นความสำเร็จของตัวผม และของนักเก็งกำไรคนอื่นๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะขัดขวางเราจากความสำเร็จ และมันทำให้ผมเห็นในสิ่งที่นักเก็งกำไรจำเป็นต้องทำเพื่อความสำเร็จของพวกเขา หลังจากนั้นในช่วงหน้าร้อนปี 1982 ผมจึงเริ่มต้นเขียนหนังสือ The Discipline Trader และก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนของผมขึ้นครับ"

Douglas อธิบายรูปแบบพฤติกรรมที่คอยขัดขวางนักเก็งกำไรจากความสำเร็จ ว่าความผิดพลาดต่างๆ เช่นการที่คุณมักจะเข้าซื้อเร็วเกินไป ก่อนที่ตลาดจะมีสัญญาณเกิดขึ้น หรือไม่ก็ช้าเกินไป หลังจากที่ตลาดเกิดสัญญาณขึ้นนานแล้ว หรือแม้กระทั่งการขาดทุนมากขึ้นกว่าเดิม จากการที่คุณเลื่อนจุดตัดขาดทุนของคุณออกไป ความผิดพลาดนี้มันเกิดมาจากความกลัวหลักๆ 4 ชนิด ที่นักเก็งกำไรชั้นยอดนั้นจะคอยจัดการกับมันอยู่เสมอ

ความกลัว 4 ชนิด นั่นก็คือ ความกลัวที่จะผิดพลาด ความกลัวที่จะขาดทุน ความกลัวที่จะพลาดโอกาสไป และสุดท้ายคือความกลัวที่จะปล่อยให้กำไรหลุดลอยไป ซึ่งเขาพบว่า ความกลัวทั้ง 4 ชนิดนี้คือตัวการหลักๆที่ทำให้เราทำในสิ่งที่ผิดในการเก็งกำไรมากกว่า 90% ซึ่งความกลัวดังกล่าวมันถูกบ่มเพาะมาจากวัฒนธรรมและสังคมของพวกเราเอง มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครสักคนจะเติบโตมาโดยไม่เคยเรียนรู้ที่จะต้องกลัวบางสิ่ง

สำหรับนักเก็งกำไรนั้น พวกเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่อาจขาดทุนได้ตลอดเวลา แต่พวกเราไม่ต้องการที่จะยอมรับมัน เพราะหากเรายอมรับมัน มันจะทำให้เรารู้สึกถึงความเจ็บปวดที่เราต้องสูญเสียบางสิ่งไป พวกเขาจึงพยายามหนีความจริง และจากการที่เราพยายามหนีมัน นั่นทำให้ทุกๆอย่างยิ่งแย่ขึ้นไปอีก

Douglas แนะนำว่า คุณต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคุณ โดยการเปลี่ยนมุมมองและให้ความหมายกับคำว่าขาดทุนเสียใหม่ว่าการขาดทุนจริงๆแล้วมันหมายความว่าอะไร สิ่งที่สำคัญก็คือ คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคุณหลายๆอย่างที่เป็นตัวการทำให้คุณตีความหรือแปลความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากตลาดในทางลบหรือด้วยความรู้สึกเจ็บปวด คุณจะต้องสร้างความเชื่อและทัศนคติชุดใหม่ขึ้นมา ที่จะทำให้คุณสามารถตีความหรือแปลความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากตลาดได้อย่างไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือไร้ความกังวลต่างๆ รวมถึงความเชื่อชุดใหม่ที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเต็มความสามารถของคุณ

สิ่งที่แยกนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนชั้นยอดออกจากคนทั่วๆไป นั่นคือนักเก็งกำรชั้นยอดนั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การลงทุนซื้อ-ขาย แต่ละครั้งนั้น ผลลัพธ์ของมันไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายครั้งที่ผ่านๆมาเลย ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม มันก็เหมือนการโยนเหรียญหัวก้อย ผลของการโยนเหรียญครั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับครั้งที่แล้วหรือครั้งไหนๆ

สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อพวกเขาเริ่มต้นเข้ามาเก็งกำไรหรือลงทุนนั่นก็คือ พวกเขาไม่ได้คิดว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจมาก จริงๆแล้วตลาดนั้นไม่สามารถที่จะบังคับหรือไม่มีผลต่อคุณในการกำหนดมุมมองการรับรู้ หรือแปลความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดของตัวคุณเองเลย แต่มันเกิดขึ้นมาจากกลไกทางจิตวิทยาในตัวคุณซึ่งจะคอยควบคุมการรับรู้และแปลผลของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในตัวของคุณเอง และในฐานะที่คุณเป็นนักเก็งกำไรหรือนักลงทุน ถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอแล้วล่ะก็ สิ่งที่คุณจะต้องทำเพื่อให้เกิดกำไรที่สม่ำเสมอขึ้นมาก็คือ การควบคุมกระบวนการในการรับรู้ และแปลความหมายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ในทางที่คุณจะสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม และไร้ความวิตกกังวลนั่นเอง

ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “ความกลัว” นั่นเอง เนื่องจากจิตใจของเรานั้นถูกออกแบบมาให้หลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด จากกลไกทางจิตวิทยาที่อยู่ทั้งใต้จิตสำนึกของเราและจิตสำนักของเราเอง และนี่คือตัวการใหญ่ตัวหนึ่งที่พวกเรามักจะมองข้ามมันไป ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าความกลัวนั้น นอกจากจะทำให้จิตใจของเราอ่อนแอลงไป แต่มันทำให้มุมมองหรือวิสัยทัศน์ของเราย่ำแย่ลงไปด้วย ความกลัวนั้นจะทำให้มุมมองของเราแคบลงไปเพราะเรามัวแต่เพ่งอยู่กับสิ่งที่เรากลัว ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เข้ามาในทุกๆช่วงขณะเวลานั่นเอง

ยิ่งในเรื่องของการเก็งกำไรหรือการลงทุนแล้ว มันยิ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของเราเองขึ้นอีก เนื่องจากจริงๆแล้วตลาดนั้นไม่ได้สร้างข้อมูลที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นมาด้วยตัวของมันเองเลย สิ่งที่มันสร้างขึ้นมาคือข้อมูลดิบ ซึ่งสามารถทำให้เรารับรู้มันในแนวทางที่เจ็บปวดขึ้นมาหรือในแนวทางที่พึงพอใจขึ้นมาควบคู่กันไปอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณได้เข้าไปซื้อหุ้นไว้ แต่ภาพของตลาดโดยรวมนั้นกลับกลายเป็นขาลง และโชคร้ายเหลือเกินที่การเด้งขึ้นมาในแต่ละครั้งมันทำให้ผมตัดสินใจถือมันต่อไป เพราะช่วงที่ตลาดเด้งสวนขึ้นมานั้น จะทำให้เกิดความหวังขึ้นมานั่นเอง และจุดนี้เองที่ความกลัวของคุณจะเข้ามามีผลทำให้คุณจดจ่อความสนใจไปที่การเด้งขึ้นมาของตลาดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากคุณได้ให้ความสำคัญกับการเด้งขึ้นมาของตลาดมากกว่าอย่างอื่น และทำให้คุณจะพยายามทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อจะบอกกับตัวเองว่าคุณจะไม่เป็นอะไร คุณจะพยายามหาเบาะแสเพื่อให้คุณสบายใจว่ามันจะเด้งขึ้นมาอีก และถึงแม้ว่าตลาดยังจะเคลื่อนที่เป็นขาลงต่อไป คุณก็จะไม่อยากรับรู้มัน คุณจะพยายามมองและรับรู้ว่าการเด้งขึ้นมาในแต่ละครั้งของตลาดเป็นจุดกลับตัวขึ้นของมัน แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น คุณจะเริ่มยอมรับความจริงเมื่อราคามันตกไปจนแทบไม่เหลืออะไรแล้ว.....

ตลาดหุ้นมันไม่ใช่อะไรอื่น มันเป็นเพียงสิ่งสะท้อนอารมณ์ความโลภและความกลัวของนักลงทุน ซึ่งส่งผลต่อระดับราคา มันไม่มีเหตุผลและไม่ใช่ตรรกะ ในตลาดหุ้น 1+1 อาจไม่ได้เท่ากับ 2 ดังนั้น เลิกหาเหตุผลให้มัน แต่จงเข้าใจในสิ่งที่มันเป็น และเมื่อตลาดคือสิ่งที่สะท้อนอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เมื่อคุณอยากเข้าใจมัน ชนะมัน และทำเงินจากมัน คุณก็ต้องเข้าใจอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมันก็คือการเข้าใจจิตใจของตัวเอง ดังนั้นจงพัฒนาการรับรู้ บริหารจิตใจและอารมณ์ของตัวคุณให้ดี แล้วคุณจะพบว่าเคล็ดลับความสำเร็จในการลงทุนไม่ได้อยู่ที่ไหน มันอยู่แค่....ภายในใจของคุณเองนี่แหละ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,66.0.html

วิธีถอนเงิน ถอนกำไร Exness เข้าธนาคารในไทย Withdrawal Funds

วิธีถอนเงิน ถอนกำไร Exness เข้าธนาคารในไทย Withdrawal Funds

1. ไปที่หน้าเว็บไซต์ Exness คลิกเข้าสู่ระบบ ใส่ ID บัญชีเทรด และรหัส เพื่อเข้าสู่ระบบ ตามภาพประกอบ


2. เข้าที่ menu การถอนเงิน(Withdrawal)


3. เลือกประเภทการดำเนินการ>>การโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ในประเทศไทย


4. เลือกธนาคารในไทยที่เราต้องการถอนเงินจากExness ที่Bank Name  ในตัวอย่าง เป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)


5. ใส่เลขที่บัญชีธนาคารที่ต้องการให้ Exness โอนเงินเข้า และใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอนหน่วยเป็น USD คลิกปุ่มทำการถอนเงิน


6. ถ้าชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อที่เราเปิดพอร์คลงทุน ระบบก็จะให้เราใส่รหัสผ่านเพื่อทำการยืนยัน รหัสจะถูกส่งไปยัง emailของเรา ดังภาพด้านล่างให้เอารหัสนั้นมาใส่ จากนั้นให้คลิกปุ่ม ยื่นยันการถอนเงิน


7. ระบบการถอนเงินexness ก็จะแสดงหน้าจอ และสถานะการถอนเงิน


8. เมื่อไม่มีการยกเลิกการถอนเงิน ไม่นาน เมื่อเงินเข้าบัญชีธนาคาร สถานะก็จเปลี่ยนเป็น ยอมรับแล้ว


9. SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี


Exness Automatic Withdrawal ระบบเบิกเงินอัตโนมัติง่ายสะดวก รวดเร็ว กดถอนเงินไม่กี่นาทีเงินเข้าบัญชีเราทันที




ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://siammetatrader.com/

แผนการเทรด 3 ปี Admin Thaiforexschool.com

แผนการเทรด  3 ปี  ทำให้ได้ครับ เทรดให้ได้วันละ  10 จุดนั้นไม่ยากหรอกครับ   มันขึ้นอยู่กับว่า คุณมีวินัยและความอดทนได้มากแค่ไหนครับ ต้นๆปี 2015 ถ้าสำเร็จ พวกเรา มาร่วมฉลองความสำเร็จด้วยกันครับ โชคดีครับทุกท่าน  



วิธีที่จะเทรดให้ได้กำไรไม่มีให้ครับ หาด้วยตัวเองครับแต่จะมีกฎและข้อบังคับในการเทรดให้ครับ 
1. ถ้าเปิดออเดอร์แรก แล้วเข้าเป้า ให้เลิกทันที ( เป้าหมายไม่จำเป็นต้องวันละ 10 จุด อาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ) 
2.ถ้าเปิดออเดอร์แรก แล้ว โดน Stop Loss ให้รอจังหวะและหาโอกาสเปิดออเดอร์ที่ 2 
  2.1 ถ้าออเดอร์ที่ 2  โดน Stop Loss ให้หยุดทันที 
  2.2 ถ้าออเดอร์ที่ 2 เข้าเป้าให้โอกาสตัวเองอีก 1 ครั้ง ในครั้งที่ 3 
หมายเหตุ .. ถ้าออเดอร์ที่ 2 ได้กำไรมากกว่าที่เสียในออเดอร์แรก ก็ให้หยุดทันทีครับ 
3. ไม่ว่าออเดอร์ที่ 3 จะเข้าเป้า หรือ โดน Stop Loss ก็ต้องหยุดทันทีครับ 

อย่าลืมนะครับ ว่า Volume lot ที่ใช้เทรด ต้องเอา Balance/10000 นะครับ  ผมเชื่อว่าถ้าพวกคุณและผมทำตามกฎนี้ไปเรื่อยๆ เราจะไม่ชนะตลาดนี้หรอกครับ แต่เราจะมีเงินจากตลาดแห่งนี้ที่คนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง 

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,74.0.html