วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พื้นฐานดี แต่เทคนิคห่วย VS. เทคนิคสวย แต่ห่วยคุณภาพ

อยู่ในตลาดมาซักระยะ คุณจะสามารถแบ่งประเภทของหุ้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าจะแบ่งแบบไหน
แบบหนึ่งที่ผมแบ่งได้ ก็คือ การแบ่งตามคุณภาพ
คุณภาพของอะไร?
ผมดู 2 มุมครับ
คุณภาพของพื้นฐาน และคุณภาพทางเทคนิค ซึ่งเมื่อแบ่งออกมาแล้ว ก็ได้หุ้น 4 ประเภทดังนี้


จากภาพ ในฐานะที่ผู้อ่านก็เป็นนักลงทุนเหมือนกันกับผม คุณจะเลือกหุ้นที่อยู่ในกล่องไหน?
คำตอบที่ทุกคนตอบก็คือ ถ้าเลือกได้ ก็ขอเลือกกล่องสีเขียว นั้นก็คือ พื้นฐานดี + กราฟสวย นั้นเอง

พื้น ฐานดี ดียังไง กราฟสวย สวยยังไง ไม่ขอเอ่ยถึงในบทความตอนนี้นะครับ เพราะนิยามของคำว่าดีแต่ละคนอาจจะมีแตกต่างในรายละเอียด เอาเป็นว่า พื้นานดี กราฟสวย ในสายตาของแต่ละคนก็แล้วกัน

กล่องที่ไม่มีใครเลือกลงทุนแน่ๆหากวิเคราะห์หุ้นตัวนั้นแล้ว ก็คือ กล่องสีแดง หรือ พื้นฐานห่วย + กราฟไม่สวย อันนี้ก็เห็นตรงกันนะ

หาก คุณลองแบ่งหุ้น แบ่งกองทุน หรือ หลักทรัพย์อะไรก็แล้วแต่ตามคุณภาพของพื้นฐานและกราฟเทคนิค หุ้นจะตกอยู่ใน 4 ประเภทนี้ไม่นี้ไปไหน และถ้าเจอกล่องสีเขียว คุณก็จะกด Favorite หรือเอาไว้ใน Watchlist ทันที บางทีก็เคาะซื้อเลยด้วยซ้ำ

แต่ในโลก ความเป็นจริง เวลาเรานั่งวิเคราะห์ไปเรื่อยๆ หุ้นที่จะตกอยู่ในกล่องสีเขียว มักจะไม่ค่อยมี สาเหตุเพราะ ถ้าหุ้นมันดีจริง มันต้องมีคนซื้อไปหมดแล้ว จริงม๊ะ? ยกเว้นหุ้นที่มีการเปลี่ยนปัจจัยบางอย่างอย่างฉับพลัน ยกตัวอย่างเช่น ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแล้วชนะคดี หรือ กำไรสุทธิโตกว่าที่คาด 50% อะไรประมาณเนี่ย หุ้นจำพวกนี้อาจสามารถขึ้นได้หลายๆเด้ง ซึ่งมันก็มีไม่เยอะอีกนั้นหล่ะ

แล้วหุ้นอะไรที่เราเจอบ่อยๆ?
คำตอบ หุ้นที่อยู่ในกล่องสีส้ม และกล่องสีฟ้า นั้นเอง

ใน ภาวะที่ตลาดขาขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน ปรับฐานทีไรก็ย่อตัวไม่แรง ราคาไม่ถูกจนต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานซักที เราจะหาหุ้นที่กำไรดีและราคายังถูกแทบไม่เจอ กลับเจอแต่หุ้นที่ไม่สมประกอบ พื้นฐานดีสุดๆ แต่ราคานิ่งไม่ไปไหน (กราฟบอกว่ายังไม่ขึ้น) เจอแบบนี้ซื้อไป ก็กลัวไม่วิ่งตามคนอื่น หรือ กราฟสวยเว่อร์ แต่หันไปเจองบ แล้วอยากสงบดีกว่า เจอแบบนี้ ซื้อไปก็กลัวโดนแรงขายออกมาอีก เปรียบได้เหมือนกับช่วงนี้นะครับ ที่ระดับดัชนีตรง 1,200 จุด ไม่ต้องใครนักวิเคราะห์มาบอก เราก็รู้ว่า ตรงนี้ มันไม่ถูกแล้ว

แล้วถ้าอยากถือหุ้นเข้าพอร์ตละ เลือกอันไหน?
นี่คือประเด็นของหัวข้อนี้  ถ้าเราต้องตัดสินใจลงทุนหุ้นพิการ (ดีไม่ครบ 2 อย่าง) เราจะเอาพิการทางไหน พิการทาง Fundamental หรือ พิการทาง Technical

คำตอบที่ถูกต้องคือ ……. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องครับ อ้าววววววว

นัก ลงทุนระยะยาว รับความเสี่ยงได้สูง ไม่มีเวลาในการติดตามตลาด คนเหล่านี้ เขาเหมาะกับการซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยไม่ต้องไปสนว่า ตอนนี้กราฟจะสวยไม่สวย เพราะเขาเชื่อว่ายังไงในอนาคตอันไกลมันต้องวิ่งไปอยู่ดี
นักลงทุนระยะ สั้น ผู้รับความเสี่ยงได้สูง มีเวลาเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด เขาก็อาจเหมาะกับหุ้นกราฟสวย ไม่สนใจพื้นฐาน สาเหตุก็เพราะ เขาเล่นสั้น ไม่ได้จะรอให้งบออกค่อยขายซะหน่อย ได้กำไรปั๊บ เดี๋ยวก็ขายออกแล้ว ดังนั้น ปัจจัยพืันฐานสำหรับเขาจึงมีน้ำหนักน้อยกว่า

แต่ก็มีนักลงทุนอีกแบบ
เขา คิดว่า ถ้าหุ้นตัวนั้น มันไม่ได้อยู่ในกล่องสีเขียว หัวเด็ดตีนขาดฉันก็จะไม่ซื้อ นักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะเลือกรอเวลาอย่างใจเย็น และคอยหาจังหวะที่ คุณภาพทั้ง 2 มุม เข้าเงื่อนไขอย่างที่ตั้งไว้ เขาอาจจะพลาดโอกาสการเข้าซื้อ ถ้าหุ้นมันไม่ปรับตัวลงมาอย่างที่มองไว้ แต่เขาก็ยอมรับได้ ไม่คิดเสียดายทีหลัง

จากตัวอย่างนักลงทุนทั้ง 3 ประเภท ลองสำรวจดูนะครับ คุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน?

เมื่อคุณรู้ตัว คำถามที่ว่า  พื้นฐานดี แต่เทคนิคห่วย VS. เทคนิคสวย แต่ห่วยคุณภาพ เลือกอันไหนดี? ก็จะไม่มีให้คาใจ

ไม่ ว่าจะเป็นคนธรรมดา หรือว่าเป็นนักลงทุน สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก็คือ “รู้จักตัวเอง” เพราะถ้าคุณไม่รู้จักตัวเอง คุณก็จะเที่ยวแสวงหาสิ่งที่ทำให้คุณพอใจเพียงอย่างเดียว โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่พอใจ มันไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับคุณ แต่ถ้าเราเจอสิ่งที่เหมาะกับจริต นิสัยเรา มันจะเหมาะกับเราไปตลอด เพราะนิสัยมันเป็นเรื่องแก้ยากที่สุด เปลี่ยนยากที่สุด คุณว่าจริงไหม

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,489.0.html

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทนำกลยุทธ์การเก็งกำไร

ประเด็นหนึ่งที่นักเล่นหุ้นทั้งหลายสับสนกับชีวิต ว่าควรจะเป็นนักลงทุน หรือ นักเก็งกำไรดี เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะ “เมื่อซื้อหุ้นอยากลงทุน แต่พอหุ้นขึ้นแรง กลับขาย เพราะอยากเก็งกำไร”  “แต่เมื่อซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร หวังให้หุ้นขึ้น แต่พอหุ้นตกกลับบอกขอถือเพื่อเป็นการลงทุน”  แต่สำหรับตัวผม แล้วมองทุกอย่าง ก็คือการเก็งกำไร หากคุณอยากที่จะขายเพื่อทำกำไรจากสิ่งนั้นๆ ยกเว้นเสียแต่ ผู้ที่ซื้อหุ้นเพื่อสะสม หรือเก็บไว้เพื่อรับปันผล ดังเช่น วอเรนต์บัฟเฟต หรือ ผู้ที่ชอบซื้อสิ่งของที่มีค่าสะสม เช่น รูปภาพ, แสตมป์ หรือของ โบราณ เพื่อขายในราคาที่สูงจนเกินความพอใจ มากๆ (โดยที่ไม่ขายก็ไม่เดือดร้อน เพราะชอบและรัก กับของสะสมนั้นๆอยู่แล้ว) จึงจะเรียกว่านักลงทุน

ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องรู้คือ รู้จักตัวเอง ก่อนที่จะรู้จัก สิ่งอื่นๆ เพราะ หากเรารู้จักตัวเองดีพอ ก็จะสามารถ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน หรือการวางแผน ให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นผมจึงรวบรวมข้อคิดที่ จะมาบอกกล่าว ในรูป กลยุทธ์ การเก็งกำไรกัน ซึ่งบทความนี้อาจจะมีบางส่วนที่อ้างอิง จากหนังสือ เรื่อง “The Zurich Axioms”

บทนำกลยุทธ์การเก็งกำไร
“ในตลาดการลงทุนส่วนใหญ่มักมองว่า การเก็งกำไรเป็นเรื่องเลวร้าย ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนโดยสิ้นเชิง  แต่ความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนต่างหาก ที่ล้วนแล้วแต่ต้องการกำไร จากการลงทุน เพียงมองแต่ว่า การใช้ระยะเวลา หรือผลประโยชน์ระยะสั้น ก็จะมองเพียงเป็นการเก็งกำไร แต่การร่วมลงทุนในระยะยาวถือเป็นการลงทุน แต่แท้ที่จริงทุกคนต่างมองถึงผลประโยชน์ ซึ่งปรับแต่งคำพูดให้สวยงามว่าเราต่างเป็นนักลงทุน”

โดยธรรมชาติแล้วกิจกรรมการเงินอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดกำไรมักจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องจะเป็นนักเสี่ยงโชคหรือไม่ก็ตาม วิธีเดียวที่ทำให้ความเสี่ยงใกล้ศูนย์คือการฝากเงินกับธนาคารหรือนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล แต่ผลตอบแทนก็ย่อมต่ำไปด้วย ด้วยเหตุนี้บรรดานักลงทุนที่กระตือรือร้นต่างพยายามขวนขวายหาการลงทุนแบบอื่นที่ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงสูงกว่า แต่ที่แปลกคือทุกคนต่างไม่ยอมรับว่าตนเองกำลังเก็งกำไร กำลังเสี่ยงเงินของตนหรือกำลังเล่นการพนัน หากแต่แสร้งทำเป็นว่าตนเองมีความฉลาดรอบคอบและเรียกกิจกรรมที่ตนเองประกอบอยู่ว่า “การลงทุน”

ในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนและนักเก็งกำไรฟังดูไม่ต่างกันนัก เพราะการลงทุนทุกชนิดคือการเก็งกำไร แตกต่างกันแต่เพียงว่าบางคนยอมรับในขณะที่บางคนไม่ยอมรับ ไม่ว่าคุณจะเรียกกิจกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ว่าเป็นการลงทุนหรือไม่ก็ตาม ความจริงก็ยังหนีความจริงไม่พ้น เพราะการพนันก็ยังคงเป็นการพนันวันยังค่ำ เพราะฉะนั้นการลงทุนทุกชนิดคือการเสี่ยงโชค เพราะคุณต้องเลือกวางเงินของคุณไว้ข้างหน้าว่าจะแทงกองไหน ไม่ว่าคุณจะเลือกหุ้นอะไรก็ตาม ยอมรับเสียเถอะว่านั้นคือการเสี่ยงโชค ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้องมาหลอกตัวเอง

นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ เจสซี่ ลิเวอร์โมร์ กล่าวว่า
“ความเสี่ยงอาจมีผลทางบวกหรือลบ เพราะ เราอาจจะสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แทนที่จะได้รับผลตอบแทน แต่อย่างไรก็ดีถ้าเราจนลงเพราะการเสี่ยงโชคแล้ว มันก็ยังดีกว่า การที่จนลงเพราะอยู่เฉยๆ ไม่ใช่หรือ?”

“ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร คุณจะต้องเผชิญกับสิ่งที่หวานและขมเสมอ ถ้าคุณเลี้ยงผึ้ง คุณก็ย่อมถูกผึ้งต่อย แต่สำหรับผม ผมก็มีความกังวลอยู่เสมอ ถ้าใครไม่มีความกังวลแล้ว เขาผู้นั้นคงยากจนต่อไป”
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,43.0.html

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความผิดพลาดที่สำคัญ 9 ประการของนักลงทุน



1. ลงทุนด้วยจำนวนเงินที่มากเกินกว่าที่คุณจะสูญเสียได้
หนึ่งในอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการลงทุนให้ประสบความสำเร็จคือการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ที่คุณไม่สามารถจะเสียไปได้  เช่น จำนวนเงินที่คุณจะต้องใช้ผ่อนค่างวด หรือค่าเทอมลูก ในกรณีเช่นนี้ เราเรียกว่า การลงทุนด้วยเงินร้อน (Trading with scared money) และในท้ายที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อในส่วนลึกของจิตใจ นักลงทุนเหล่านั้นรู้ว่าพวกเขากำลังเสี่ยงด้วยเงินที่เปรียบเสมือนเงินที่ยืมมา พวกเขาจะลงทุนด้วยอารมณ์และความกลัว โดยปราศจากเหตุผล ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ เราแนะนำให้คุณหยุดการลงทุน จนกระทั่งคุณสามารถลงทุนด้วยจำนวนเงินที่คุณสามารถจะเสียได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางการเงิน คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยจำนวนก้อนที่ไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น 50,000 บาท และลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท

2. ความต้องการความแน่นอน
เราทุกคนต้องมั่นใจว่าการลงทุนจะคุ้มค่า ดังนั้นเราจึงควรมองหาสัญญาณที่จะยืนยันจุดที่ควรเข้าลงทุน สัญญาณที่กล่าวถึงนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การเปิดช่องยูบีซี หรือ อ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตลาดทุน เพื่อทราบถึงข่าวสารว่าหลักทรัพย์ใดอยู่ในช่วงที่น่าลงทุน หรือหลักทรัพย์ใดที่ควรรอจังหวะเข้าซื้อเมื่อแน่ใจว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้น  นักลงทุนบางคนอาจรับฟังข่าวสารจากเพื่อน ครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่การตลาด (โบรกเกอร์) บางคนอาจรอจังหวะที่ดัชนีชี้นำทางเทคนิคทั้งหลายแสดงสัญญาณที่ดีจึงเข้าซื้อ สิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้อผิดพลาดที่สำคัญและควรระวังมาก ก็คือ การใช้เวลามากเกินไปจนคุณปล่อยให้ราคาสูงขึ้นโดยที่คุณยังไม่ได้ซื้อ สิ่งที่ตามมาก็คือ ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเมื่อราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนที่จะเข้าซื้อหุ้นนั้นมีน้อยลง ทำให้แรงซื้อน้อยลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงจนกว่าจะมีแรงซื้อเข้ามาใหม่ ซึ่งก็เปรียบได้กับเกมเก้าอี้ดนตรี คนที่ช้าที่สุดก็จะไม่มีเก้าอี้เหลือให้นั่ง นักลงทุนที่รอแล้วรออีกเพื่อให้มั่นใจมากๆ จริงๆแล้วก็คือคนที่จะซื้อที่จุดสูงสุดก่อนที่ราคาหุ้นจะตกลง แล้วก็จะโทษว่าเป็นเพราะเลือกหุ้นผิดตัว ความจริงคือข้อผิดพลาดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกหุ้น แต่เกี่ยวกับจังหวะของการลงทุน
สิ่งที่ควรจำใส่ใจคือไม่มีความแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ในการลงทุนครั้งใดๆก็ตาม สิ่งที่จะทำได้ก็คือศึกษาถึงความเสี่ยงประกอบกับความเชื่อมั่น

3. ใช้กำไรก่อนที่จะทำกำไรได้
ไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้นไปกว่าการลงทุนที่ให้กำไรที่งดงาม แต่สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน เพราะมันให้คุณฝันหวานถึงกำไรก้อนใหญ่ คุณอาจจะบอกว่า “ว้าว! เงินลงทุนฉันเพิ่มขึ้น 15% ใน 2 วัน แล้วจะเพิ่มเป็น 50 % ใน 2 สัปดาห์และ อาจจะกลายเป็นเท่าตัวในพริบตา!”  สิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ คุณอาจคิดถึงรถใหม่คันหรูที่คุณคิดจะซื้อ หรืออาจจะบอกเจ้านายคุณว่าเขาก็ทำแบบเดียวกันได้ ถึงตอนนี้คุณคงนึกภาพออก ปัญหาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อคุณยึดติดกับความใฝ่ฝันนั้น และไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะถอยออกมาเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะที่ไม่ดี และทำให้กำไรลดลง เพราะคุณถึงแต่ผลกำไรที่จะได้รับโดยไม่ยอมรับสถานการณ์จริง วิธีแก้ไขง่ายๆก็คือ ต้องรู้ว่าจะขายทำกำไรเมื่อไหร่และอย่างไร เมื่อลงทุน  และต้องจำไว้ว่าตลาดจะขึ้นสูงเท่าที่มันจะขึ้นได้  ไม่ใช่ว่าจะขึ้นสูงเท่าที่คุณคิดว่ามันจะขึ้นได้

4. การแสดงความคิดเห็น
เรากำลังจะบอกคุณว่าตลาดไม่สนใจคุณหรอกว่าคุณจะคิดอย่างไร ถึงแม้ว่าคุณจะอ้างอิงถึงบทวิเคราะห์ที่เกิดจากความอุตสาหะ หรืออ้างอิงถึง ผู้เชี่ยวชาญตลาดหุ้นไทย  นั่นไม่สำคัญหรอก

5. คำ 3 คำที่จะฆ่าคุณได้ หวัง-ขอ-อธิษฐาน
ถ้าคุณพบว่าคุณทำ 1 อย่าง หรือมากกว่า ของคำที่กล่าวไว้ เมื่อคุณลงทุน คุณกำลังลำบากแล้วล่ะ! ดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว ตลาดไม่สนใจคุณหรอก ดังนั้น ความหวัง คำขอ หรือคำอธิษฐาน ทั้งหลายไม่สามารถเปลี่ยนขาดทุนเป็นกำไร
เมื่อคุณคาดการณ์ผิด วิธีการง่ายๆที่จะแก้ไขสถานกาณ์ คือ ขาย!!

6. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนเริ่มไม่ทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้  อาจจะเป็นเวลาซัก 1 อาทิตย์ที่พวกเค้าจะลงทุนตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แต่อีก1 อาทิตย์จะทำสิ่งที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง  การทำเช่นนี้ทำให้เจ็บตัวได้ง่าย เนื่องจากไม่มีใครสามารถบอกได้แน่ชัดว่ากลยุทธ์ใด จะได้ผลหรือไม่ ดังนั้นต้องจำไว้ว่าไม่ควรทำสิ่งที่ผิดไปจากแผนหรือวิธีการเมื่อคุณได้เริ่มต้นไปแล้ว  หากคุณพบว่ากลยุทธ์นั้นใช้ได้ผลเมื่อดูจากสถิติ ก็ไม่มีเหตุผลที่คุณจะเปลี่ยนกลยุทธ์  ทางที่จะทำกำไรคือ ซื้อขายซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งถึงจุดที่กลยุทธ์นั้นจะใช้ไม่ได้ผล อีกด้านที่ต้องระวังก็คือ นักลงทุนมักจะขาดความมั่นคงและมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแผนการลงทุนได้มากหลังจากขาดทุน 2-3 ครั้ง  ดังนั้น ในช่วงเวลาเช่นนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

7. ไม่รู้ว่าจะถอนตัวจากการลงทุนที่ขาดทุนได้อย่างไร
มีหลายครั้งที่นักลงทุนไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการนำตัวเองออกจากการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า  พวกเขามักจะคาดหวัง และคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองในการที่จะไม่ถอนตัวและยอมขาดทุน ดังเช่นที่เราบอกซ้ำแล้วซ่ำเล่า ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะคิดอะไร  มันเคลื่อนไปตามทางของมัน และเมื่อตลาดไม่เป็นไปตามที่คุณคิด นั่นคือคุณคิดผิด วิธีง่ายที่สุดที่จะทำให้สถานะการลงทุนไม่แย่ลงกว่าเดิม ก็คือต้องคิดก่อนที่จะลงทุนว่า เมื่อไรจะออกจากตลาด โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรือ กำหนดจุดเป้าหมาย เช่น จุดที่เท่ากับจุดต่ำสุดในช่วงเวลา 15 นาทีก่อน ต้องมั่นใจว่าคุณจะไม่ปล่อยให้ราคาตกลงจนถึงจุดหยุดขาดทุนโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากความกลัวและความไม่เชื่อว่าคุณคิดผิด นั่นจะทำให้คุณเกิดปัญหาด้านการเงิน เว้นแต่ว่าคุณจะสามารถหยุดขาดทุนได้โดยเร็ว

8. มีความมั่นใจ
คนที่เข้าลงทุนในตลาดนั่นมีหลายคนที่เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจด้านอื่นๆ เหตุนี้เองทำให้พวกเขามีความมั่นใจสูงและคิดว่าพวกเขาไม่มีทางที่จะล้มเหลว  ความมั่นใจเช่นนี้กลายเป็นข้อเสียสำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่าลงทุนผิดพลาดและควรต้องหยุดการลงทุนที่ขาดทุน และเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากไหน นั่นไม่เกี่ยวข้องกับตลาด รวมถึงปริญญา ประกาศนียบัตร ความสามารถในการจูงใจ หรือ ความรอบรู้เชิงธุรกิจ ไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มตลาด เวลาที่คุณคาดการณ์ผิด

9. หลงใหลในหุ้นหรือการลงทุน
ห้ามหลงใหลในหุ้นเด็ดขาด เพราะนั่นจะให้บทเรียนที่สาหัสแก่คุณ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,46.0.html

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค

Why do people have to learn Technical chart. ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคหากคุณเชื่อว่า


- หากคุณเชื่อในกฎของอุปสงค์อุปทาน   Demand and Supply
- หากคุณเชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่มักซื้อด้วยอารมณ์เพราะความต้องการซื้อ มากกว่าการซื้อด้วยเหตุผลเพราะราคาถูก
- หากคุณเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีวงจรชีวิตหรือวัฏจักร
- หากคุณเชื่อว่าในตลาดมักมีคนรู้ข้อมูลภายในก่อนคนอื่นเสมอ
- หากคุณต้องการเพิ่มมุมมอง สำหรับการตัดสินใจในการลงทุน
- หากคุณไม่รู้ว่า P/E และ P/B เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูก หรือแพง เพราะในอดีตจะเห็นว่า ค่า Price to Earning ของหุ้นแต่ละตัว ตลาดหุ้นแต่ละตลาด ยังมิได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ หรือมึค่าเท่ากันทุกตลาดเลย

ซึ่งสรุปได้ว่า ณ ช่วงเวลาต่างกันในหุ้นตัวเดียวกัน มูลค่ายังมิเท่ากัน เหตุเพราะความต้องการไม่เท่ากันต่างหากที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากเรากำหนดสิ่งต่างๆ ว่าถูกหรือแพง โดยการใช้ค่า Price to earning หรือ Price to Book value เพียงอย่างเดียวนั้นคงจะไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราเงินเฟ้อ หรือราคาน้ำมัน คงจะคงที่เหมือนกันหมด

คนซื้อหุ้นเพราะเกิดจาก อารมณ์ และความคาดหวังว่า หุ้นตัวนั้นดี ราคาไม่แพง หรือน่าที่จะทำกำไรได้ เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการบอกถึงอารมณ์ของคนที่ ซื้อขายหุ้นตัวนั้นเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มไปในทิศทางใด เหตุเพราะ
- ราคาหุ้นเป็นผลรวมที่สะท้อน ถึงการทราบข่าวสารต่างๆไว้หมดแล้ว
- ราคาเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้ม
- พฤติกรรมในอดีต หรือประวัติศาสตร์มักจะเกิดซ้ำรอย

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ไม่จำเป็นต้องติดตามข่าว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะสะท้อนออกมาทางราคาหรือกราฟอยู่แล้ว
- สามารถหยุดขาดทุนหรือเลือกที่จะขายทำกำไรได้ จากกราฟ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง
- ย่นระยะเวลาในการศึกษาในหุ้นแต่ละตัว และทำให้วิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้มากขึ้น
- สามารถมองเห็นพฤติกรรมของหุ้น ที่จะขึ้นลงได้ก่อนที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงพบ
- สามารถ เก็งกำไร และเลือกลงทุนในระยะสั้น หรือระยะยาวได้

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,33.0.html

Mark Douglas ทัศนคติแห่งการเก็งกำไร

Mark Douglas เซียนหุ้นที่เป็นที่ยอมรับกันว่า เขามีความชำนาญ และแนวคิดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแง่มุมทางด้านจิตวิทยาการลงทุนเป็นอย่างสูง ในระดับต้นๆของโลก โดยเขาได้เคยเขียนหนังสือหุ้นไว้สองเล่มที่โด่งดังมาก และถือเป็น Must Read! เลยทีเดียวนั่นก็คือ The Discipline Trader และ Trading in The Zone


Douglas เริ่มต้นการเก็งกำไรในตลาด Future ในปี 1978 โดยขณะนั้น เขาทำงานเป็นผู้บริหารของบริษัทแห่งหนึ่ง จนเมื่อมีโบรกเกอร์โทรมาชักชวนให้เขาลงทุน เขาจึงเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเก็งกำไรในทองคำ และหลังจากนั้นมา เขาก็หลงใหลในการเก็งกำไรเป็นอย่างมาก เขาตัดสินใจลาออกจากงานผู้บริหาร และสมัครเข้าทำงานใน Merrill Lynch ด้วยการเป็นโบรกเกอร์แทน!!!!

ภายใน 9 เดือน Douglas ก็หมดตัว!!! เขาสูญเสียเงินสะสมทั้งหมดที่มีไปกับการเก็งกำไร แต่นั่นกลับกลายเป็นพลังให้เขาลุกขึ้นต่อสู้ และก้าวเดินต่อไปในเส้นทางที่เขาเลือก เพราะอย่างน้อยเขาได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ เขาเรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วการเก็งกำไรนั้น มันคือการต่อสู้กับจิตใจของเราเอง โดยมุมมอง และทัศนคติของเขานั้น มีส่วนสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใดในการเก็งกำไร และนั่นทำให้เขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาคิด คือสิ่งที่สำคัญมาก และนั่นทำให้หลังจากนั้น เขาเริ่มเขียนบันทึกประจำวันอย่างละเอียด

"ผมได้เขียนถึงพฤติกรรมการเก็งกำไรของผม สภาวะจิตใจของผม และสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้นกับของลูกค้าของผม โดยผมได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมที่ผมสังเกตเห็น ไม่เพียงแต่เฉพาะจากตัวของผม แต่รวมถึงทุกๆคนที่อยู่ในออฟฟิต และจากนักเก็งกำไรในห้องค้า (Floor Trader) ซึ่งผมรู้จักอีกด้วยครับ"

หลังจากเขาเทรดมาได้ 3 ปี เขายังไม่สามารถที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ จนทั้งครอบครัว และเพื่อนฝูงของเขาต่างคิดว่าเขาบ้าที่ตัดสินใจออกมาจากงานบริหารที่ทำอยู่ แทบจะไม่มีใครที่ยอมรับเขาเลย และเขารู้สึกได้ถึงความกลัวที่ยังซ่อนอยู่ในใจ แต่นั่นก็ไม่ทำให้เขาหันหลังกลับ เขาใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะทำตามความฝัน ในที่สุดจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขาก็มาถึง

"เมื่อผมคิดได้ว่าผมจะต้องทำได้!! (ซึ่งผมจำไม่ได้ว่ามันใช้เวลานานแค่ไหน) และหลังจากที่ผมรู้สึกได้อย่างนั้น ความกลัวของผมก็หายไป ผมตระหนักถึงคุณค่าในตัวของผมมากกว่าที่เคยเป็น ผมรู้สึกว่าผมยังสามารถคิดได้ ผมยังสุขภาพดีอยู่ ผมมีพรสวรรค์ และเมื่อผมตระหนักถึงคุณค่าในตัวของผมได้ ความกลัวทุกอย่างก็หายไปในทันที ผมเห็นรูปแบบพฤติกรรมที่คอยปิดกั้นความสำเร็จของตัวผม และของนักเก็งกำไรคนอื่นๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะขัดขวางเราจากความสำเร็จ และมันทำให้ผมเห็นในสิ่งที่นักเก็งกำไรจำเป็นต้องทำเพื่อความสำเร็จของพวกเขา หลังจากนั้นในช่วงหน้าร้อนปี 1982 ผมจึงเริ่มต้นเขียนหนังสือ The Discipline Trader และก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนของผมขึ้นครับ"

Douglas อธิบายรูปแบบพฤติกรรมที่คอยขัดขวางนักเก็งกำไรจากความสำเร็จ ว่าความผิดพลาดต่างๆ เช่นการที่คุณมักจะเข้าซื้อเร็วเกินไป ก่อนที่ตลาดจะมีสัญญาณเกิดขึ้น หรือไม่ก็ช้าเกินไป หลังจากที่ตลาดเกิดสัญญาณขึ้นนานแล้ว หรือแม้กระทั่งการขาดทุนมากขึ้นกว่าเดิม จากการที่คุณเลื่อนจุดตัดขาดทุนของคุณออกไป ความผิดพลาดนี้มันเกิดมาจากความกลัวหลักๆ 4 ชนิด ที่นักเก็งกำไรชั้นยอดนั้นจะคอยจัดการกับมันอยู่เสมอ

ความกลัว 4 ชนิด นั่นก็คือ ความกลัวที่จะผิดพลาด ความกลัวที่จะขาดทุน ความกลัวที่จะพลาดโอกาสไป และสุดท้ายคือความกลัวที่จะปล่อยให้กำไรหลุดลอยไป ซึ่งเขาพบว่า ความกลัวทั้ง 4 ชนิดนี้คือตัวการหลักๆที่ทำให้เราทำในสิ่งที่ผิดในการเก็งกำไรมากกว่า 90% ซึ่งความกลัวดังกล่าวมันถูกบ่มเพาะมาจากวัฒนธรรมและสังคมของพวกเราเอง มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครสักคนจะเติบโตมาโดยไม่เคยเรียนรู้ที่จะต้องกลัวบางสิ่ง

สำหรับนักเก็งกำไรนั้น พวกเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่อาจขาดทุนได้ตลอดเวลา แต่พวกเราไม่ต้องการที่จะยอมรับมัน เพราะหากเรายอมรับมัน มันจะทำให้เรารู้สึกถึงความเจ็บปวดที่เราต้องสูญเสียบางสิ่งไป พวกเขาจึงพยายามหนีความจริง และจากการที่เราพยายามหนีมัน นั่นทำให้ทุกๆอย่างยิ่งแย่ขึ้นไปอีก

Douglas แนะนำว่า คุณต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคุณ โดยการเปลี่ยนมุมมองและให้ความหมายกับคำว่าขาดทุนเสียใหม่ว่าการขาดทุนจริงๆแล้วมันหมายความว่าอะไร สิ่งที่สำคัญก็คือ คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคุณหลายๆอย่างที่เป็นตัวการทำให้คุณตีความหรือแปลความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากตลาดในทางลบหรือด้วยความรู้สึกเจ็บปวด คุณจะต้องสร้างความเชื่อและทัศนคติชุดใหม่ขึ้นมา ที่จะทำให้คุณสามารถตีความหรือแปลความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากตลาดได้อย่างไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือไร้ความกังวลต่างๆ รวมถึงความเชื่อชุดใหม่ที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเต็มความสามารถของคุณ

สิ่งที่แยกนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนชั้นยอดออกจากคนทั่วๆไป นั่นคือนักเก็งกำรชั้นยอดนั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การลงทุนซื้อ-ขาย แต่ละครั้งนั้น ผลลัพธ์ของมันไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายครั้งที่ผ่านๆมาเลย ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม มันก็เหมือนการโยนเหรียญหัวก้อย ผลของการโยนเหรียญครั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับครั้งที่แล้วหรือครั้งไหนๆ

สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อพวกเขาเริ่มต้นเข้ามาเก็งกำไรหรือลงทุนนั่นก็คือ พวกเขาไม่ได้คิดว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจมาก จริงๆแล้วตลาดนั้นไม่สามารถที่จะบังคับหรือไม่มีผลต่อคุณในการกำหนดมุมมองการรับรู้ หรือแปลความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดของตัวคุณเองเลย แต่มันเกิดขึ้นมาจากกลไกทางจิตวิทยาในตัวคุณซึ่งจะคอยควบคุมการรับรู้และแปลผลของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในตัวของคุณเอง และในฐานะที่คุณเป็นนักเก็งกำไรหรือนักลงทุน ถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอแล้วล่ะก็ สิ่งที่คุณจะต้องทำเพื่อให้เกิดกำไรที่สม่ำเสมอขึ้นมาก็คือ การควบคุมกระบวนการในการรับรู้ และแปลความหมายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ในทางที่คุณจะสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม และไร้ความวิตกกังวลนั่นเอง

ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “ความกลัว” นั่นเอง เนื่องจากจิตใจของเรานั้นถูกออกแบบมาให้หลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด จากกลไกทางจิตวิทยาที่อยู่ทั้งใต้จิตสำนึกของเราและจิตสำนักของเราเอง และนี่คือตัวการใหญ่ตัวหนึ่งที่พวกเรามักจะมองข้ามมันไป ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าความกลัวนั้น นอกจากจะทำให้จิตใจของเราอ่อนแอลงไป แต่มันทำให้มุมมองหรือวิสัยทัศน์ของเราย่ำแย่ลงไปด้วย ความกลัวนั้นจะทำให้มุมมองของเราแคบลงไปเพราะเรามัวแต่เพ่งอยู่กับสิ่งที่เรากลัว ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เข้ามาในทุกๆช่วงขณะเวลานั่นเอง

ยิ่งในเรื่องของการเก็งกำไรหรือการลงทุนแล้ว มันยิ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของเราเองขึ้นอีก เนื่องจากจริงๆแล้วตลาดนั้นไม่ได้สร้างข้อมูลที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นมาด้วยตัวของมันเองเลย สิ่งที่มันสร้างขึ้นมาคือข้อมูลดิบ ซึ่งสามารถทำให้เรารับรู้มันในแนวทางที่เจ็บปวดขึ้นมาหรือในแนวทางที่พึงพอใจขึ้นมาควบคู่กันไปอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณได้เข้าไปซื้อหุ้นไว้ แต่ภาพของตลาดโดยรวมนั้นกลับกลายเป็นขาลง และโชคร้ายเหลือเกินที่การเด้งขึ้นมาในแต่ละครั้งมันทำให้ผมตัดสินใจถือมันต่อไป เพราะช่วงที่ตลาดเด้งสวนขึ้นมานั้น จะทำให้เกิดความหวังขึ้นมานั่นเอง และจุดนี้เองที่ความกลัวของคุณจะเข้ามามีผลทำให้คุณจดจ่อความสนใจไปที่การเด้งขึ้นมาของตลาดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากคุณได้ให้ความสำคัญกับการเด้งขึ้นมาของตลาดมากกว่าอย่างอื่น และทำให้คุณจะพยายามทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อจะบอกกับตัวเองว่าคุณจะไม่เป็นอะไร คุณจะพยายามหาเบาะแสเพื่อให้คุณสบายใจว่ามันจะเด้งขึ้นมาอีก และถึงแม้ว่าตลาดยังจะเคลื่อนที่เป็นขาลงต่อไป คุณก็จะไม่อยากรับรู้มัน คุณจะพยายามมองและรับรู้ว่าการเด้งขึ้นมาในแต่ละครั้งของตลาดเป็นจุดกลับตัวขึ้นของมัน แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น คุณจะเริ่มยอมรับความจริงเมื่อราคามันตกไปจนแทบไม่เหลืออะไรแล้ว.....

ตลาดหุ้นมันไม่ใช่อะไรอื่น มันเป็นเพียงสิ่งสะท้อนอารมณ์ความโลภและความกลัวของนักลงทุน ซึ่งส่งผลต่อระดับราคา มันไม่มีเหตุผลและไม่ใช่ตรรกะ ในตลาดหุ้น 1+1 อาจไม่ได้เท่ากับ 2 ดังนั้น เลิกหาเหตุผลให้มัน แต่จงเข้าใจในสิ่งที่มันเป็น และเมื่อตลาดคือสิ่งที่สะท้อนอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เมื่อคุณอยากเข้าใจมัน ชนะมัน และทำเงินจากมัน คุณก็ต้องเข้าใจอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมันก็คือการเข้าใจจิตใจของตัวเอง ดังนั้นจงพัฒนาการรับรู้ บริหารจิตใจและอารมณ์ของตัวคุณให้ดี แล้วคุณจะพบว่าเคล็ดลับความสำเร็จในการลงทุนไม่ได้อยู่ที่ไหน มันอยู่แค่....ภายในใจของคุณเองนี่แหละ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,66.0.html

วิธีถอนเงิน ถอนกำไร Exness เข้าธนาคารในไทย Withdrawal Funds

วิธีถอนเงิน ถอนกำไร Exness เข้าธนาคารในไทย Withdrawal Funds

1. ไปที่หน้าเว็บไซต์ Exness คลิกเข้าสู่ระบบ ใส่ ID บัญชีเทรด และรหัส เพื่อเข้าสู่ระบบ ตามภาพประกอบ


2. เข้าที่ menu การถอนเงิน(Withdrawal)


3. เลือกประเภทการดำเนินการ>>การโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ในประเทศไทย


4. เลือกธนาคารในไทยที่เราต้องการถอนเงินจากExness ที่Bank Name  ในตัวอย่าง เป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)


5. ใส่เลขที่บัญชีธนาคารที่ต้องการให้ Exness โอนเงินเข้า และใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอนหน่วยเป็น USD คลิกปุ่มทำการถอนเงิน


6. ถ้าชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อที่เราเปิดพอร์คลงทุน ระบบก็จะให้เราใส่รหัสผ่านเพื่อทำการยืนยัน รหัสจะถูกส่งไปยัง emailของเรา ดังภาพด้านล่างให้เอารหัสนั้นมาใส่ จากนั้นให้คลิกปุ่ม ยื่นยันการถอนเงิน


7. ระบบการถอนเงินexness ก็จะแสดงหน้าจอ และสถานะการถอนเงิน


8. เมื่อไม่มีการยกเลิกการถอนเงิน ไม่นาน เมื่อเงินเข้าบัญชีธนาคาร สถานะก็จเปลี่ยนเป็น ยอมรับแล้ว


9. SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี


Exness Automatic Withdrawal ระบบเบิกเงินอัตโนมัติง่ายสะดวก รวดเร็ว กดถอนเงินไม่กี่นาทีเงินเข้าบัญชีเราทันที




ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://siammetatrader.com/

แผนการเทรด 3 ปี Admin Thaiforexschool.com

แผนการเทรด  3 ปี  ทำให้ได้ครับ เทรดให้ได้วันละ  10 จุดนั้นไม่ยากหรอกครับ   มันขึ้นอยู่กับว่า คุณมีวินัยและความอดทนได้มากแค่ไหนครับ ต้นๆปี 2015 ถ้าสำเร็จ พวกเรา มาร่วมฉลองความสำเร็จด้วยกันครับ โชคดีครับทุกท่าน  



วิธีที่จะเทรดให้ได้กำไรไม่มีให้ครับ หาด้วยตัวเองครับแต่จะมีกฎและข้อบังคับในการเทรดให้ครับ 
1. ถ้าเปิดออเดอร์แรก แล้วเข้าเป้า ให้เลิกทันที ( เป้าหมายไม่จำเป็นต้องวันละ 10 จุด อาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ) 
2.ถ้าเปิดออเดอร์แรก แล้ว โดน Stop Loss ให้รอจังหวะและหาโอกาสเปิดออเดอร์ที่ 2 
  2.1 ถ้าออเดอร์ที่ 2  โดน Stop Loss ให้หยุดทันที 
  2.2 ถ้าออเดอร์ที่ 2 เข้าเป้าให้โอกาสตัวเองอีก 1 ครั้ง ในครั้งที่ 3 
หมายเหตุ .. ถ้าออเดอร์ที่ 2 ได้กำไรมากกว่าที่เสียในออเดอร์แรก ก็ให้หยุดทันทีครับ 
3. ไม่ว่าออเดอร์ที่ 3 จะเข้าเป้า หรือ โดน Stop Loss ก็ต้องหยุดทันทีครับ 

อย่าลืมนะครับ ว่า Volume lot ที่ใช้เทรด ต้องเอา Balance/10000 นะครับ  ผมเชื่อว่าถ้าพวกคุณและผมทำตามกฎนี้ไปเรื่อยๆ เราจะไม่ชนะตลาดนี้หรอกครับ แต่เราจะมีเงินจากตลาดแห่งนี้ที่คนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง 

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,74.0.html

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อขาดทุน

สิ่งที่เราควรปฏิบัติเมื่อขาดทุน...อาจจะใช้คำว่า "ควร" อย่างเดียวก็ไม่ถูก ต้องใช้คำว่า "ต้อง!!"
เพราะมันคือสิ่งที่ Trader ทุกคน ย้ำนะครับว่า ทุกคน!! ต้องทำ

สิ่งที่เราต้องทำคือ Cut Loss แปลง่ายๆก็คือ หยุดขาดทุน
เมื่อทิศทางของกราฟไม่เป็นไปตามที่เราคาด เราควรจะตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
ไม่งั้น อาจจะหมดตูดได้...

สิ่งที่นักลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จทำก็ คือ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการ
เมื่อเกิดการขาดทุน จะมีความรู้สึกว่า "ต้องเอาคืนมาให้ได้เลย"
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณคิดแบบนั้นละ ก็ล้างพอร์ตกันแทบทุกราย เอาง่ายๆคือตายเรียยบ...

ควรตั้ง Cut Loss ไว้ไม่เกิน 30% ของทุนทั้งหมด

เมื่อทำการ Cut Loss เสร็จก็ควรใจเย็นๆ แล้วหาจังหวะเข้าใหม่โดยไร้อารมณ์ตอนที่ขาดทุนไป

"ชีวิคคนเรามีขึ้น ก็ต้องมีลง"


ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,107.0.html

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การติดตั้งโปรแกรมเทรด MetaTrader (MT4) - การ Logain เข้าโปรแกรมซื้อ ขาย

การติดตั้งโปรแกรมเทรด MetaTrader - EXNESS

ดาวน์โหลด MetaTrader 4 https://www.exness.com/download/mt4setup.exe

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม คลิกที่ Run


2. รอการดาวน์โหลดสักครู่


3. คลิก Next เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม


4. ติ๊กยอมรับข้อกำหนดของโปรแกรม แล้วคลิก Next


5. เลือกที่อยู่ในการลงโปรแกรม คลิก Next ได้เลยครับ ไม่ต้องเปลี่ยน


6. คลิก Next


7. คลิก Next


8. รอโปรแกรมกำลังติดตั้งสักครู่


9. คลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการลงโปรแกรมสำเร็จ


10. จะมี Icon ขึ้นที่หน้า Desktop



การ Login เข้าโปรแกรมซื้อ ขาย MetaTrader 4 - EXNESS
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon บนหน้า Desktop


2. ใส่เลขบัญชีเทรด รหัสผ่าน คลิด Login เท่านั้นก็เรียบร้อยครับ





ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://siammetatrader.com/

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เเนะนำวิธีดูข่าว www.forexfactory.com

ผมจะเเนะนำวิธีดูให้นะครับ www.forexfactory.com เปิดเว็บนี้ตามไปด้วยจากตารางข่าวของเว็บ Forexfactory จะประกอบด้วย Date(วันที่) ,Time (เวลา),
Currency (ค่าเงิน), Impact (ความแรงของข่าว), Actual (ตัวเลขที่ออกจริง), forecast(ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์) ,previous(ตัวเลขที่ออกก่อนหน้านั้น)Impact

มันจะมีสี กำกับอยู่หน้าข่าวครับ โดยสีแดงจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือสีส้ม และสีเหลือง และสีข่าวจะแสดงว่าเป็นวีนหยุดของตลาดของประเทศนั้นและตัวเลขจริงที่ออก มา Actual ตัวเลขที่ออกมาจะมี 3 สีด้วยเช่นกัน คือ

สีเขียว หมายถึง ข่าวดี
สีแดง หมายถึง ข่าวไม่ดี
สีดำ คือ ไม่มีข่าวนั้นออกมาหรือมีเเต่ไม่ส่งผลอ่ะไร

โดย ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย Impact ถ้าข่าว High Impact สีแดง และตัวเลขที่ประกาศออกมา เป็นสีเขียวหรือสีแดง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงประมาณ 1xxpips ขึ้นไป

-วิธี การเก็งกำไรจากข่าวในตาราง Forexfactory ให้รอดูตัวเลขจริง Actual ออกมาก่อนนะครับ เมื่อตัวเลขจริง(actual)ออกมามากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขที่คาด การณ์(forecast)ไว้จะส่งผลทำให้ดีกับค่าเงินนั้นๆ แต่ถ้าตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้จะส่งผลเสียกับค่าเงิน นั้นๆ เช่น ถ้าข่าวของ USD ออกมามากกว่า

ตัวเลขคาด การณ์(Forecast) จะทำให้ USD / XXX ขึ้น และทำให้ XXX / USD ลง ( XXX คือ ค่าเงินของประเทศนั้นๆเมื่อเทียบกับดอลล่าห์สหรัฐ(USD)อาทิเช่น JPY CHF CAD AUD NZD GBP )

ถ้าข่าว Gross Domestic Product หรือ GDP ของอังกฤษ(GBP) ตัวเลขออกมามากกว่าที่ตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้จะส่งผลให้ กราฟของ GBP/USD , GBP/JPY,GBP/CHF ขึ้น และกราฟ EUR/GBP จะลง

ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ
1. สำคัญมาก
ชื่อ ก็บอกอยู่ แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็ สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อัน นี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้

คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ
1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรงๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะราคาน้ำมัน แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?
1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน
เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)

ระดับที่เรียกว่าสำคัญมาก...
ลำดับชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...
ลำดับชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )

ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)

กลุ่มสำคัญมาก
Trade Balance
โดย ปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Gross Domestic Product หรือ GDP
จะ ประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศ ทุกๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศ ทุกๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศ ทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะ ประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales
ประกาศ ทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออก ทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

กลุ่มสำคัญ
Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศ ทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน  โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending
ประกาศ แถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การ ประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ

- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM
ออก ทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey
ออก ราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออก ราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders
ออก ราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production
ออก ราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้นหมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,93.0.html

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

รวม ตัวอักษรย่อของเงินแต่ละสกุล

1. AED เดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2. AFN อัฟกานีอัฟกานิสถาน
3. ALL เลกแอลเบเนีย
4. AMD แดรมอาร์เมเนีย
5. ANG กิลเดอร์เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส
6. AOA ควันซาแองโกลา
7. ARS เปโซอาร์เจนตินา
8. AUD ดอลลาร์ออสเตรเลีย
9. AWG กิลเดอร์อารูบา
10. AZM มานัตอาเซอร์ไบจาน
11. BAM มาร์กคอนเวอร์ทิเบิลบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
12. BBD ดอลลาร์บาร์เบโดส
13. BDT ตากาบังกลาเทศ
14. BGN เลฟบัลแกเรีย
15. BHD ดีนาร์บาห์เรน
16. BIF ฟรังก์บุรุนดี
17. BMD ดอลลาร์เบอร์มิวดา
18. BND ดอลลาร์บรูไน
19. BOB โบลีเวียโนโบลิเวีย
20. BOV Bolivian Mvdol (Funds code)
21. BRL เรียลบราซิล
22. BSD ดอลลาร์บาฮามาส
23. BTN เอ็งกุลตรัมภูฏาน
24. BWP ปูลาบอตสวานา
25. BYR รูเบิลเบลารุส
26. BZD ดอลลาร์เบลีซ
27. CAD ดอลลาร์แคนาดา
28. CDF ฟรังก์คองโก
29. CHF ฟรังก์สวิส
30. CLF Chilean Unidades de fomento (Funds code)
31. CLP เปโซชิลี
32. CNY หยวนเหรินหมินปี้ (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
33. COP เปโซโคลอมเบีย
34. COU Colombian unidad de valor real (added to the COP)
35. CRC โกลองคอสตาริกา
36. CSD ดีนาร์เซอร์เบีย
37. CUC Cuban convertible peso (replaced USD as additional national currency in November 2004)
38. CUP เปโซคิวบา (still in use)
39. CVE เอสคูโดเคปเวิร์ด
40. CYP ปอนด์ไซปรัส
41. CZK โครูนาเช็ก
42. DJF ฟรังก์จิบูตี
43. DKK โครนเดนมาร์ก
44. DOP เปโซโดมินิกัน
45. DZD ดีนาร์แอลจีเรีย
46. EEK ครูนเอสโตเนีย
47. EGP ปอนด์อียิปต์
48. ERN แนกฟาเอริเทรีย
49. ETB เบอร์เอธิโอเปีย
50. EUR ยูโร
51. FJD ดอลลาร์ฟิจิ
52. FKP ปอนด์หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
53. GBP ปอนด์สเตอร์ลิง (สหราชอาณาจักร)
54. GEL ลารีจอร์เจีย
55. GHC เซดีกานา
56. GIP ปอนด์ยิบรอลตาร์
57. GMD ดาลาซีแกมเบีย
58. GNF francGuinea
59. GTQ Guatemalan quetzal
60. GYD ดอลลาร์กายอานา
61. HKD ดอลลาร์ฮ่องกง
62. HNL Honduran lempira
63. HRK Croatian kuna
64. HTG กูร์ดเฮติ
65. HUF ฟอรินต์ฮังการี
66. IDR รูเปียห์อินโดนีเซีย
67. ILS เชเกลอิสราเอล
68. INR รูปีอินเดีย
69. IQD ดีนาร์อิรัก
70. IRR เรียลอิหร่าน
71. ISK โครนาไอซ์แลนด์
72. JMD ดอลลาร์จาเมกา
73. JOD ดีนาร์จอร์แดน
74. JPY เยนญี่ปุ่น
75. KES ชิลลิงเคนยา
76. KGS ซอมคีร์กีซสถาน
77. KHR เรียลกัใพชา
78. KMF ฟรังก์คอโมโรส
79. KPW วอนเกาหลีเหนือ
80. KRW วอนเกาหลีใต้
81. KWD ดีนาร์คูเวต
82. KYD ดอลลาร์หมู่เกาะเคย์แมน
83. KZT เทงเจคาซัคสถาน
84. LAK กีบลาว
85. LBP ปอนด์เลบานอน
86. LKR รูปีศรีลังกา
87. LRD ดอลลาร์ไลบีเรีย
88. LSL โลตีเลโซโท
89. LTL ลีตัสลิทัวเนีย
90. LVL ลัตลัตเวีย
91. LYD ดีนาร์ลิเบีย
92. MAD เดอร์แฮมโมร็อกโก
93. MDL ลิวมอลโดวา
94. MGA อะเรียรีมาดากัสการ์
95. MKD เดนาร์มาซิโดเนีย
96. MMK จ๊าดพม่า
97. MNT ทูกริกมองโกเลีย
98. MOP ปาตากามาเก๊า
99. MRO อูกียามอริเตเนีย
100. MTL ลีรามอลตา
101. MUR รูปีมอริเชียส
102. MVR Maldives rufiyaa
103. MWK Malawi kwacha
104. MXN เปโซเม็กซิโก
105. MXV Mexican Unidad de Inversión (UDI) (Funds code)
106. MYR ริงกิตมาเลเซีย
107. MZM Mozambique metical
108. NAD ดอลลาร์นามิเบีย
109. NGN Nigerian naira
110. NIO Nicaraguan córdoba
111. NOK โครนนอร์เวย์
112. NPR รูปีเนปาล
113. NZD ดอลลาร์นิวซีแลนด์
114. OMR Omani rial
115. PAB Panamanian balboa
116. PEN Peruvian nuevo sol
117. PGK Papua New Guinea kina
118. PHP เปโซฟิลิปปินส์
119. PKR รูปีปากีสถาน
120. PLN ซวอตีโปแลนด์
121. PYG Paraguayan guaraní
122. QAR Qatari rial
123. RON ลิวโรมาเนีย
124. RUB Russian ruble
125. RWF Rwandan franc
126. SAR Saudi Arabian riyal
127. SBD ดอลลาร์หมู่เกาะโซโลมอน
128. SCR รูปีเซเชลส์
129. SDD Sudanese dinar
130. SEK Swedish krona
131. SGD ดอลลาร์สิงคโปร์
132. SHP ปอนด์เซนต์เฮเลนา
133. SIT Slovene tolar
134. SKK Slovak koruna
135. SLL Sierra Leonean leone
136. SOS Somali shilling
137. SRD ดอลลาร์ซูรินาเม
138. STD São Tomé and Príncipe dobra
139. SYP ปอนด์ซีเรีย
140. SZL ลิลังเจนีสวาซิแลนด์
141. THB บาทไทย
142. TJS โซโมนีทาจิกิสถาน
143. TMM มานัตเติร์กเมนิสถาน
144. TND Tunisian dinar
145. TOP Tongan Pa'anga
146. TRY ลีราตุรกี
147. TTD ดอลลาร์ตรินิแดดและโตเบโก
148. TWD ดอลลาร์ไต้หวัน
149. TZS ชิลลิงแทนซาเนีย
150. UAH ฮริฟเนียยูเครน
151. UGX ชิลลิงยูกันดา
152. USD ดอลลาร์สหรัฐ
153. USN United States dollar (Next day) (Funds code)
154. USS United States dollar (Same day) (Funds code) (one source claims it is no longer used, but it is still on the ISO 4217-MA list)
155. UYU เปโซอุรุกวัย
156. UZS ซอมอุซเบกิสถาน
157. VEB โบลีวาร์เวเนซุเอลา
158. VND ดองเวียตนาม
159. VUV วาตูวานูอาตู
160. WST Samoa Tala
161. XAF CFA franc BEAC
162. XAG Silver ounce
163. XAU Gold ounce
164. XBA European Composite Unit (EURCO) (Bonds market unit)
165. XBB European Monetary Unit (E.M.U.-6) (Bonds market unit)
166. XBC European Unit of Account 9 (E.U.A.-9) (Bonds market unit)
167. XBD European Unit of Account 17 (E.U.A.-17) (Bonds market unit)
168. XCD ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก
169. XDR Special Drawing Rights (IMF)
170. XFO Gold-franc (Special settlement currency)
171. XFU UIC franc (Special settlement currency)
172. XOF CFA franc BCEAO
173. XPD Palladium ounce
174. XPF CFP franc
175. XPT Platinum ounce
176. XTS Code reserved for testing purposes
177. XXX No currency
178. YER เรียลเยเมน
179. ZAR แรนด์แอฟริกาใต้
180. ZMK ควาชาแซมเบีย
181. ZWD ดอลลาร์ซิมบับเว

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,61.0.html

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ความจริงเกี่ยวกับการเล่นหุ้น

1. ในตลาดอะไรก็เกิดขึ้นได้
ตลอดเวลาในตลาดมันจะมีตัวแปรที่คอยขับเคลื่อนตลาดที่เราไม่รู้จักอยู่ ขอแค่มีเทรดเทรดเดอร์เพียงคนเดียวที่อยู่ที่ไหนสักแห่งในโลก ทำอะไรซักอย่างกับตลาด มันก็อาจจะทำให้การวิเคราะห์กราฟของเราผิดพลาดได้เสมอ ไม่ว่าเราจะเสียเวลากับการวิเคราะห์มานานแค่ไหน ศึกษาหาความรู้มาอย่างมากมาย หรือลงทุนไปกับมันมากเท่าไหร่ แต่ถ้ามองในมุมมองของตลาดแล้ว มันไมเกี่ยวกันกับการที่ตลาดจะขึ้น หรือจะลง ดังนั้นการที่เราคาดหวังในทิศทางของตลาดนั้น มันเพียงแต่จะทำให้จิตใจเราสับสน และขัดแย้งกันก็แค่นั้น

2. เราไม่จำเป็นต้องรู้ทิศทางของตลาดอย่างแม่นยำ ก็สามารถทำเงินได้
การเทรดหุ้นแต้ละครั้งมันมีเปอร์เซันได้ - เสียเป็นของมัน และตัวที่กำหนดสิ่งนี้คือ มุมมอง หรือระบบของเรา สมมุติต่อไปอีก 20 เทรด เรารู้ว่าเราจะได้ 12 และเสีย 8 แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือเราจะได้ครั้งละเท่าไร และเราจะเสียครั้งละเท่าไร นี่เป็นสิ่งที่ทำให้การเล่นหุ้นเป็นเกมเกี่ยวกับความน่าจะเป็น หรือเป็นเกมนับเลข ยกตัวอย่าง นักเทรด 2 คน คนแรกมีโอกาสเทรดได้ 75% แต่จะได้แค่ครั้งละ 20 Pips และเสียครั้งละ 60 Pips เทรด 20 ครั้ง ผลที่ได้คือ 0 Pip ส่วนนักเทรดคนที่ 2 มีโอกาสเทรดได้แค่ 25% แต่จะได้ครั้งละ 100 Pips เสียครั้งละ 30 Pips 20 เทรด เขาจะได้ทั้งหมด 50 Pips เห็นไหมครับมันเป็นเกมบวกเลข - ลบเลข โอกาสแพ้ชนะแทบจะไม่มีผล ถ้าเรามี Money Management และ Risk-to-Reward ที่ดี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจิตใจ นักเทรดคนแรกเขามีโอกาสชนะที่สูงมาก แต่เขากลับสู้คนที่ 2 ที่โอกาสชนะน้อกว่าไม่ได้ แล้วถ้าเขาไม่กลัวว่าเทรดที่ได้จะกลับมาเสียแล้วรีบปิด เขาจะได้มากเท่าไร ถ้าเขากล้าที่จะตัดขาดทุนแทนที่จะนั่งรอให้มันตีกลับมาบวก เขาจะเสียมากขนาดนั้นไหม มันเป็นเรื่องของความกลัวครับ ความกลัวในการเล่นหุ้นในความคิดผมนั้นมีอยู่ 3 อย่าง กลัวที่จะขาดทุน กลัวที่จะพลาดโอกาส และกลัวที่จะได้กำไรมากเกินไป อันสุดท้ายนี่หมายถึง การกลัวว่าเทรดที่ได้จะกลับมาเสียรีบปิดเร็วเกินไป เรียนรู้ที่จะควบคุมความกลัวแล้วการเทรดของเราจะดีขึ้น

3. มันมีเปอร์เซ็นได้ - เสียของแต่ละระบบ
ข้อได้ได้อธิบายในข้อ 2 ไปบ้างแล้ว เมื่อเรารู้ระบบของเราแล้ว ก็เหลืออีกสองอย่างที่เราต้องมี คือ Money Management กับ Mindset อันแรก Money Management บางคนบอกว่าไม่จำเป็น แต่ความจริงแล้วมันจำเป็นมากในการที่จะประสบผลสำเร็จในตลาด Forex ผมแนะนำว่าเทรดแต่ละเทรดควรจะเสียได้ไม่เกิน 2% ของบัญชีนะครับ การที่เราตั้งไว้น้อยแบบนี้มันก็ช่วยลดความกลัวของเราได้อีกทางหนึ่งนะครับ ประมาณว่าถึงเสียก็เสียแค่ 2% ลองเสี่ยงดูก็ได้ ลองทำดูนะครับ เชื่อผม อย่างที่สอง Mindset ก็คือระบความคิดของเรานั่นเอง ระบบความคิดทั่วไปของเราทุกคนใช้ไม่ได้กับตลาดนะครับ ระบบความคิดที่เทรดเดอร์ควรมีคือการมองในความเป็นได้ เคยสังเกตไหมครับว่าคนส่วนใหญ่จะบอกว่า "ถ้าเราเดาทิศทางของตลาดหุ้นถูกเราก็รวย" ไม่ใช่ "ถ้าเราคำนวณทิศทางของตลาดหุ้นถูกเราก็รวย" เดากับคำนวณมันต่างกันนะครับ ผมมีคำถาม 3 ข้อมาถามครับ ถ้าเราเจอจุดเข้าเทรดที่ดีมากจุดหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาเราเสียมาตลอด เราจะคิดยังไง ถ้าเราเข้ามาเจอว่าตลาดกำลังพุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว เราจะคิดยังไง และถ้าเราจับเทรนใหญ่ในตลาดได้เทรนหนึ่ง แต่แล้วเมื่อไปถึงแค่ครึ่งทางราคามันก็เริ่มวกกลับทางเดิม  เราจะคิดยังไง และสุดท้าย ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างที่ว่ามานี้ขึ้น เราจะทำอะไร ฝากเก็บไปคิดนะครับ

4. ระบบบอกแค่ว่าสึ่งหนึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
มันไม่ได้บอกว่าอะไรจะเกิด และอะไรจะไม่เกิด ถ้าพี่เคยคิดว่าเมื่อระบบบอกแบบนี้ มันจะต้องเป็นแบบนั้นแน่นอน ลง Lot หนัก หรือเทหมดหน้าตักได้ ผมว่ามันเสี่ยงมากเกินไปนะ
ครับ เพราะในตลาดอะไรก็เกิดขึ้นได้

5. ตลาดไม่เคยซ้ำกับในอดีต
ให้สนใจในปัจจุบันครับเป็นสำคัญครับ ตลาดมันแค่คล้ายกันกับในอดีต แต่มันไม่ซ้ำกับในอดีตแน่นอ

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,72.0.html

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ความแตกต่างของการวิเคราะห์หุ้นทางพื้นฐานกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค article

หากบอกถึงความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์ทางพื้นฐานแบ่งออกได้ดังนี้


พื้นฐาน - มองหา “มูลค่าที่แท้จริง” ของหลักทรัพย์นั้นๆ
-  มูลค่าที่แท้จริง “สูงกว่า” ราคาตลาด (ของแพง)
-  มูลค่าที่แท้จริง “ต่ำกว่า” ราคาตลาด (ของถูก)

เทคนิค - ดู “Demand & Supply” ของหลักทรัพย์นั้นๆ
-  ดูความต้องการของนักลงทุนว่าอยากซื้อ หรืออยากขาย
-  เป็นเรื่องของ “ Sentiment ” จิตวิทยาและสภาวะตลาด   

การวิเคราะห์ทางพื้นฐาน   “Intrinsic Value”
-  ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น เช่นเงินปันผล หรือ P/E
-  อัตราการเจริญเติบโตของบริษัท
-  ผลประกอบการของบริษัท

การวิเคราะห์ทางเทคนิค “Demand & Supply”
-  ความเคลื่อนไหว ของราคาหุ้น
-  สภาวะตลาดและ จิตวิทยามวลชน
- ทิศทางของตัวเลขดัชนีต่างๆ

ความแตกต่างทางพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนทางพื้นฐานและทางเทคนิค
พื้นฐาน เน้นระยะยาว โดยซื้อแล้วเก็บ แต่สามาระยอมรับความเสี่ยงได้น้อย
เทคนิค สามารถลงทุนได้ทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว โดยจะซื้อ-ขายตามสัญญาณทางเทคนิค และ ยอมรับความเสี่ยงได้มาก
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,41.0.html

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ทำอย่างไร จึงจะหลุดพ้นจากคำว่า "ล้างพอร์ต"

คำว่า ล้างพอร์ตนั้นคือ พอร์ตเนียนใสสะอาด ปราศจาก  Margin  ยอดเงินเป็น 0 บางโบรกเกอร์ยอดเงินของเราติดลบอีกต่างหาก ( จากประสบการณ์ของผมเอง Fxcast Call margin  Balance -30 $ ) นอกจากมันจะตัดเราหมดแล้ว ยังให้เราเป็นหนี้มันอีก ดู ดู๊ ดู ดู มันทำ

สาเหตที่พวกเราล้างพอร์ตมาจากอะไร 
1. เทรดเยอะเกินทุน เช่นทุนมี 1000 ดอล เทรดกันซะ จุดละ 10 ดอล วิ่งได้ 100 จุด หมดเกลี้ยง
2. ไม่มี Stop Loss เช่น Short ไว้ มันขึ้น เออหน่า เด๋วลง รออีกแปบ รอจนหมด
3. ลงเพิ่มเมื่อติดลบ  ซ้ำกันเข้าไป เห็นมันขึ้นก็ยัง Sell ยิ่งขึ้นยิ่ง Sell ดูดิมึงจะขึ้นไปถึงไหน ฮ่าาๆ มันก็ขึ้นไปตัดพอร์ตเราแล้วลงมาไง
4.อารมณ์  ส่วนนี้สำคัญเลย สำหรับผม ถ้าอารมณ์เสียมาเมื่อไร พอร์ตกระจุยครับ
5. ทุนน้อยอยากได้เยอะ (โลภ) มีทุนร้อยเดียว จะเอาอาทิตย์ ละ 500 ดอล มันก็กดดันตัวเองสิ
6. บวกไม่ปิด ปล่อยจนลบหมดพอร์ต อันนี้เกิดขึ้นบ่อยนะครับ  อยากจะเป็น Long Term Trader พวกเทรดระยะยาว วางเรื่อยๆ ขึ้นก็ Buy เรื่อยๆ ขึ้นอีก Buy อีก จนได้กำไรเยอะมาก  อันนี้ประสบการณ์เลยครับ ทุน 2000 ดอล  Let's Profits Run ไปเรื่อยๆ จนวันศุกร์ ได้ 7000 ดอล สุดยอด เทพ ได้รับการขนานนามทันที ว่าเทพ แต่หารู้ไม่ว่า อีกสัปดาห์ต่อ กราฟมันเปลี่ยนทิศทาง แทนที่จะปิดเอากำไร เจือกปล่อย ให้ติดลบ แถมซ้ำเข้าไปอีก ยิ่งผิดทางยิ่งซ้ำ สุดท้ายจากกำไรก็เป็นขาดทุน

นึกไม่ออกว่าอะไรอีก แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ จึงจะหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้  อยากหลุดพ้นเต็มทน ไม่เอาแล้วกับการหมดพอร์ต เศร้า เสียใจ หาตังค์ไหนว้าเทรดอีก มันจะไม่เกิดกับเราอีกแล้ว

3 สิ่ง ที่จะทำให้ผมหลุดพ้นจากคำว่า ล้างพอร์ต 
1. ตัดขาดทุน
2.ตัดขาดทุนให้เร็ว
3.ตัดขาดทุนให้เร็วที่สุด 


ตัดขาดทุน มันยังเหลือทุน ให้เราได้เทรดต่อ แล้วเพื่อนๆล่ะ  หลุดพ้นจากคำๆนีหรือยัง "ล้างพอร์ต" แล้วมีวิธีแก้ไขตัวเองอย่างไร บอกเล่าประสบการณ์ กันนะครับ ผมเชื่อว่าเทรดเดอร์ทุกคนมีประสบการณ์กับการล้างพอร์ต  

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,78.0.html

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

วางแผนการเทรด และเทรดตามแผนของคุณ

สูตรการเทรดforexให้ได้มากกว่าเสีย

1. การวางแผนการเทรดและเทรดตามแผนของคุณ(Plan your trade And Trade your plan)
ใน การเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่าราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ึความประสบความสำเร็จ
แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย
-  การกำหนด จุดเข้า หรือ สัญญาณในการเข้าเทรด
-  การกำหนดจุด ขาดทุน ( Stop Loss)
-  การกำหนดเป้าหมายกำไร ( Target)
-  การวางแผนทางการเงิน ( Money Management)
-  การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) การจัดสรรค์การเรดให้เหมาะสม

แผน การเทรดที่ดีจะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาที่ติดลบ หรือ ไกล้จะ Call Margin ( เงินใกล้จะหมด)  ไม่ต้องถูกบังคับปิด เช่น มาจิ้นของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรดหรือระบบเทรด คุณสามารถหาได้จาก google ลองหาแผนการเทรดที่เหมาะกับตัวของคุณ ลองทดสอบระบบ และเทรดตามระบบด้วยเงินปลอม อาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวของคุณ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งไม่มีระบบไหนที่ได้ผลการเทรดของคุณออกมา 100% ระบบเทรดที่ดี ควรมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า 60 % ไม่ว่าคุณจะได้ระบบเทพ หรือ สุดยอดเทพ ยังไง คุณก็ต้องติดลบก่อน ไม่มีใครไม่เคย ติดลบ

2. แนวโน้มของกราฟ คือเพื่อนของคุณ ( The Trend is Your Friend ) 
อย่า คิดสวนเทรน  ให้หาสัญญาณ  Buy/ Long เมื่อ ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น ( Bullish Market ตลาดแดนบวก) และหาจังหวะ Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลง ( Bearish Market ตลาดแดนลบ)

3. การรักษาเงินลงทุน ( Focus on capital preservation)
สิง สำคัญอีกอย่างสำหรับการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีที่สุด การเปิดคำสั่งเทรดแค่ละคำสั่ง ไม่ควรจะเกิน 10 % ของเงินในบัญชีเทรดของคุณ เช่น เงินทุน 1000 $ คุณควจจะเทรดไม่เกิน 100$ ถ้าไม่มีการรักษาเงินทุนไว้ เงินทุนจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทรดมาก ได้มาก ก็เสียมาก เช่นกัน เมื่อเงินหมด คุณอาจจะท้อ หรือเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น ควรจะเล่นน้อยๆ เรื่อย ๆ แล้ว จะประสบผลสำเร็จในตลาดฟอเร็ก ฟอเร็กไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย

4. ต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะตัดขาดทุน (Know when to cut loss)
ถ้า ราคาวิ่งตรงข้ามกับที่คุณได้เทรดไว้ หรือคาดการณ์ไว้ สิิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ตัดเนื้อร้ายออกไป อย่าให้มันรุกราม แล้วหาโอกาสหรือจังหวะดีๆ เพื่อเข้าใหม่ การถือติดลบไว้ เป็นการเสียโอกาสในการหาจังหวะเข้าใหม่ในสัญญาณดีๆ และต้องมานั่งเครียด เพราะกลัวว่า มาจิ้น จะหมด คังคำที่พูดกันว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย และ   ลบน้อยตัดยาก ลบมากตัดง่าย ถ้าเลวร้ายจริงๆ คุณอาจจะโดนคำสั่งปิด Margin Call ดังนั้นเมื่อทำการเทรดทุกครั้ง ควรหาจุด Stop Loss จุดที่คุณควรปิดทิ้ง เมื่อราคาวิ่งตรงข้าม จากทีคาดการณ์ไว้ โดนอาจจะกำหนดไว้เลย เช่น Exit stop Loss -20 จุด  -30 จุด หรือตั้งไว้ตามแนวรับแนวต้าน Support- Resistance

5. ปิดทำกำไรเมื่อได้โอกาส หรือด้วยความพอใจของเรา (take Profit when the trade is good)
ก่อน ทำการเทรด ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าต้องการกำไรเท่าไร เมื่อได้โอกาส ก็ควรปิดทำกำไร เป้าหมาย ( Target) อาจจะกำหนดตายตัว หรือ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเรา เช่น ทำกำไร 20 จุด หรือ 30 จุด หรือกำหนด ตามแนวรับแนวต้าน ( Support and Resistance) หรือกำหนด โดย Fibonaccy  ก็ได้

6. ตัดอารมณ์ออกไป (Be Emotionless)
สอง อารมณ์ ที่มีผลมากให้การเทรด คือ ความโลภ ( Greedy) และความกลัว(fear)  อย่าทำให่้สองสิ่งนี้ครอบงำจิตใจของคุณ เพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถเทรดได้ หมั่นฝึกฝนเทรดให้เป็นระบบ เทรดตามแผน หรือระบบเทรดที่คุณได้เตรียมไว้ จัดการ กับ การกำหนดจุดเข้า ( Entry Position) จุดออก ( Exit Position)  ระบบการเงินของคุณ(Money Management) เพียงแค่นี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จกับฟอเร็กได้

7. อย่าเทรดตามคนอื่น  ( Do not trade base on tips from other people)
ควรเทรดตามระบบ ตามสัญญาณ หรือตามแผนที่วางไว้ อย่าเทรดตามคนอื่นโดยเด็ดขาด วิเคราะห์ให้ดีทุกครั้งก่อนการเทรด

8. จดบันทึกการเทรด (Keep A trade journal)
เมื่อ คุณเปิดคำสั่ง ซื้อ (Buy/Long) ให้จด เหตุผลว่าเข้าเพราะอะไร และจดความรู็้สึกตอนนั้นไว้ เมื่อเปิดคำสั่ง ขาย ( sell/Short) ก็ทำเช่นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ บันทึก ข้อผิดพลาด ในการเทรด ขำข้อผิดพลาดของคุณที่เกิดขึ้น นำมาเป็นบทเรียน แล้วอย่าทำตามนั้นอีก

9. เมื่อไม่แน่ใจไม่ต้องเทรด ( When in doubt, stay out)
เมื่อ คุณไม่มั่นใจหรือกำลังสับสน กับสภาวะของตลาดไม่แน่ใจว่าราคาจะวิ่งไปทางไหน ให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องเทรด ออกไปเดินเล่นหาอย่างอื่นทำ แล้วก็รอตลาดในช่วงต่อไป คุณค่อยมาหาจังหวะการเทรดใหม่

10. อย่าเทรดมากเกินไป ( DO Not Over Trade)
ไม่ ควรเปิดเทรดมากเกินไป  ในการเทรดแต่ละครั้งควรมีออเดอร์ที่เปิดทิ้งไว้ ไม่เกิน 3 ออเดอร์ ถ้ามีมากเกินไป คุณอาจจะควบคุมไม่ได้ หรือาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเมื่อตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นอย่า เปิดเทรดจนมากเกินไป

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,58.0.html

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการเทรด Forex สำหรับผู้เริ่มต้น

ตลาด forex ได้เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไป มาหลายปีแล้ว, มีนักลงทุนจำนวนมากเข้ามาในลงทุนในตลาดเพิ่มขึ้น ทุก ๆ เดือน โดยแต่ละคนก็หวังที่จะเข้ามาทำกำไร และเป็นเศรษฐี จากตลาด forex แต่ผลที่ได้ของนักลงทุนแต่ละคนนั้น ก็แตกต่างกันไป

การเทรดสำหรับ ผู้เริ่มต้น นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ซับซ้อนเลย ในความเป็นจริง คุณอาจจะช๊อกก็ได้ เมื่อผมจะบอกว่า นักลงทุนบางคนที่ผมรู้จักได้เข้ามาลงทุนในตลาด forex จนกลายเป็นเศรษฐี!

สิ่งแรกที่คุณ ควรจะเริ่ม นั้นคือ ขอเปิดพอร์ต forex แบบออนไลน์ จากนั้นคุณจะสามารถเข้าไปเทรดจากที่ไหนของโลกก็ได้ อย่าเพิ่งเลือกโบรคเกอร์แรกที่คุณพบ หาตัวเลือกจากหลายๆที่ แล้วลองชั่งน้ำหนัก ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละที่ ก่อนจะตัดสินใจ โดยทัวไปแล้ว โบรคเกอร์ส่วนใหญ่ อนุญาติเปิดบัญชีขนาดเล็ก ซื้งนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น คุณสามารถฝากเงิน โดยใช้เงินเพียงแค่ $100 สำหรับการเริ่มต้น ด้วยระบบ Leverage ซึ่งจะทำให้คุณเปรียบเสมือนมีทุนในการลงทุนมากขึ้นอย่างน้อย 100 เท่า ของทุนจริงที่คุณมี นั้นก็คือ คุณสามารถควบคุมทุน $10,000 จากเงินทุนจริง $100 ของคุณได้

แต่ละโบรคเกอร์ จะมีโปรแกรมซึ่งแสดงกราฟราคา พร้อม indicator ให้เราได้ใช้ เราไม่จำเป็นต้องใช้ indicator ทั้งหมดที่โบรคเกอร์มีให้เพราะมันจะทำให้เราสับสน เราควรทำให้มันเรียบง่าย และเข้าใจง่ายที่สุด!

การตั้งและปรับค่าต่างๆ รวมถึงการทำความคุ้นเคยกับระบบของโบรคเกอร์ในบัญชีของคุณ ควรใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

ระบบการเทรดนั้น เรียบง่าย ผมจะอธิบาย ระบบง่าย ๆ ซึ่งสามารถทำกำไรได้มาก และเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเข้ามาเทรดในตลาด forex

เริ่มแรก คุณต้องเลือก คู่สกุลเงินที่คุณต้องการเทรดก่อน จากนั้นคอยเรียนรู้ว่ามันเคลื่อนไหวอย่างไร (ตรงนี้ต้องใช้เวลา)

ดูกราฟแบบ 4 ชั่วโมง จากซูมออกมาจนกว่าจะเห็นช่วงเวลาได้ 2 เดือน ถ้ากราฟ เริ่มจากด้านล่าง และไต่ขึ้นบน นั้นหมายถึงเป็นขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้ากราฟเริ่มจากด้านบน และไต่ลงล่าง นั้นแสดงถึงขาลง

เราเทรดโดยดูจากแนวโน้ม ดูการเคลื่อนไหวของราคาว่ามัน เคลื่อนไหวไปทางเดียวกับแนวโน้มหรือไม่ ถ้าเคลื่อนไหวในทางเดียวกัน ใช้ระดับราคาที่ 50% ของแนวกลาง แนวรับ แนวต้าน ของราคา เป็นตัวประกอบการตัดสินใจเลือกจังหวะเข้าเทรด

เข้าเทรดเมื่อระดับราคาเหมาะสม โดยตั้งจุด cut-loss ไว้ที่ จุด ในการเข้าเทรดแต่ละครั้งอย่าเสี่ยงเข้าเทรดโดยใช้ทุนมากกว่า 3% ของบัญชีทั้งหมด

ตรงนี้เป้นจุดสำคัญ สำหรับความสำเร็จของคุณ! เมื่อคุณได้กำไร 100pip เพิ่มทุนเข้าไปครึ่งหนึ่งของการเทรดครั้งแรก คอยเฝ้าดูแนวโน้ม และเพิ่มทุนเข้าไป ทุก ๆ 50 pipsที่เพิ่มขึ้น จากกำไรที่เพิ่มมากขึ้น อย่าเพิ่งปิดการเทรด จนกว่าคุณจะมีเหตุผลที่บ่งชี้ชัดว่า เทรนนี้ ได้จบลงแล้ว

ในการเข้าเทรดครั้งแรกคุณจะไม่ได้ราคาที่วิ่งดีถึง 100 pips ทุกครั้ง แต่มันจะเกิดขึ้นอย่างน้อยเดือนละครั้ง และเมือคุณทำมันได้ คุณจะเห็นถึงประสิทธิภาพของระบบง่าย ๆ นี้ ในกรณีที่ราคาไม่สามารถขึ้นไปถึง 50 pip ได้ คุณก็ควรจะหยุดการเทรด และได้กำไรเล็กน้อย

นี้คือทั้งหมด เรียบง่าย แต่ใช้ได้ดี ได้ผลจริง และเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เข้ามาเทรดในตลาด forex

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,98.0.html